toward-a-nuclear-free-world

Reporting the underreported threat of nuclear weapons and efforts by those striving for a nuclear free world. A project of The Non-Profit International Press Syndicate Japan and its overseas partners in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC since 2009.

INPS Japan
HomeLanguageThaiAustralia Urged to Sign & Ratify the Nuclear Weapons Ban Treaty -...

Australia Urged to Sign & Ratify the Nuclear Weapons Ban Treaty – THAI

-

ออสเตรเลียกระตุ้นให้มีการลงนามและให้สัตยาบันสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์

โดย Neena Bhandari

ซิดนีย์ (IDN) – ออสเตรเลียจะต้องลงนามและให้สัตยาบันในสนธิสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับการห้ามทดลองอาวุธนิวเลียร์ (TPNW) ตามการรายงานใหม่ที่ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (International Campaign to Abolish Nuclear Weapons (ICAN) กล่าวไว้ที่นี่ โดยเป็นการริเริ่มที่ก่อตั้งโดยชาวออสเตรเลียที่ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2017.

การรายงานปรากฏขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดระดับนานาชาติที่กำลังโหมกระพือเกี่ยวกับข้อตกลงที่สำคัญ รวมถึงแผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม (Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA) – ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน – และสนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง 1988 (Intermediate Range Nuclear Forces (INF) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียที่กำลังมีการถูกบ่อนทำลายลง

ทั้งนี้มีการลงนาม JCPOA หลังจากการเจรจาต่อรองยืดเยื้อระหว่างอิหร่านและหกมหาอำนาจของโลกโดยประกอบด้วยสมาชิกถาวรห้าประเทศของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้แก่ – จีน, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา – รวมทั้งเยอรมนีพร้อมทั้งสหภาพยุโรป

Gem Romuld ผู้อำนวยการของ ICAN ออสเตรเลียและบรรณาธิการข่าวแถลงแก่ IDN ว่า “โครงสร้างทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ล้อมอาวุธนิวเคลียร์กำลังล่มสลายลง ด้วยสนธิสัญญา INF และข้อตกลงของอิหร่านภายใต้การคุมคามที่รุนแรง และปราศจากการเจรจาเพื่อลดอาวุธที่ดำเนินการต่อระหว่างรัฐที่ติดอาวุธนิวเคลียร์”

อย่างไรก็ตาม รัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดกำลังดำเนินการเพื่อพัฒนาความทันสมัยคลังอาวุธนิวเคลียร์ของตนแม้โดยรวมจะมีการลดจำนวนจรวดนิวเคลียร์ลงในปี 2018 ตามจากการให้ข้อมูลในวันที่ 17 มิถุนายน ในรายงานประจำปี 2019 ของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (Stockholm International Peace Research Institute (SIPRI)

ตามการให้ข้อมูลของ SIPRI ในช่วงต้นปี 2019 ทั้งเก้ารัฐ – สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, จีน, อินเดีย, ปากีสถาน, อิสราเอล และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) – ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ราว ๆ 13, 865 ลูก โดยจากมี 3,750 ลูกที่ถูกนำไปใช้ในกองกำลังปฏิบัติการและเกือบ ๆ 2,000 ลูกจากทั้งหมดนี้ถูกเก็บไว้สถานะการเตือนการดำเนินการระดับสูง

ออสเตรเลียไม่ได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ใด ๆ แต่เห็นพ้องกับทฤษฎีการป้องปรามนิวเคลียร์ซึ่งยืดขยายออกไปภายใต้ความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกมองว่าเป็นกุญแจสู่ความมั่นคงแห่งชาติของออสเตรเลีย

Romuld กล่าวว่า: “ในขณะนี้ ออสเตรเลียกำลังทำหน้าที่เป็นผู้เปิดทางให้กับโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา แต่สิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้และจะต้องเปลี่ยนแปลง สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธมอบเครื่องมือให้แก่ออสเตรเลียเพื่อเปลี่ยนทิศทางและมีส่วนร่วมกับคำสั่งตามกฎสากลในการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์อย่างมีนัยสำคัญ

สนธิสัญญาซึ่งมีการปรับใช้โดยสหภาพยุโรป (UN) ในเดือนกรกฎาคม 2017 ซึ่งในขณะนี้มีผู้ลงนาม 70 ราย และ 25 รัฐ (ประเทศล่าสุดคือโบลิเวีย) ที่มีการให้สัตยาบันไว้ โดยคาดหวังว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2020 และกลายเป็นกฎหมายระหว่างประเทศหลังจากการการให้สัตยาบันครั้งที่ 50

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศและการค้า (Australia’s Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT) ได้อธิบายถึงนโยบายของประเทศโดยกล่าวว่า: “เราไม่ได้สนับสนุนสนธิสัญญาเกี่ยวกับการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เนื่องจากประเทศไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์และความเสี่ยงที่บ่อนทำลายระบอบรากฐานของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty (NPT)

ออสเตรเลียเชื่อว่า TPNW จะไม่ขจัดอาวุธนิวเคลียร์สักลูกและจะขัดกับข้อผูกพันการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาของออสเตรเลียอีกด้วย ทั้งนี้เว็บไซต์ของ DFAT ระบุว่าออสเตรเลียจะยังคงดำเนินการเพื่อสนับสนุนขั้นตอนเชิงปฏิบัติการต่อการลดอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงการเสริมความแข็งแกร่งให้กับ NPT โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวทางการประชุมเพื่อทบทวน NPT 2020 และการทำงานร่วมกับสมาชิกทั่วทั้งภูมิภาค 12 รายจากกลุ่มความริเริ่มไม่แพร่ขยายและลดการสะสมอาวุธ (Non Proliferation and Disarmament Initiative (NPDI)

จากรายงานของ ICAN ใน Choosing Humanity: เหตุผลที่ออสเตรเลียจะต้องเข้าร่วมในสนธิสัญญาเกี่ยวกับการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ โดยระบุข้อกังวลและความเชื่อที่มีเกี่ยวกับ TPNW และเสนอแนะแนวทางเชิงปฏิบัติสำหรับการลงนามและการให้สัตยาบัน โดยเกิดข้อโต้แย้งที่น่าสนใจเพื่อให้ออสเตรเลียมีบทบาทในการตีตรา การห้าม การขจัดอาวุธนิวเคลียร์โดยการเข้าร่วมสนธิสัญญา

Sue Haseldine หญิงสาวชาวโกกาธา-มูลา ซึ่งในตอนนั้นมีอายุสามปีเมื่อสหราชอาณาจักรเริ่มสร้างการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในมาราลินกา และอีมู ฟิลด์ในทางตอนใต้ของออสเตรเลีย และหมู่เกาะ มอนเต เบลโล นอกชายฝั่งออสเตรเลียตะวันตก โดยการทดลอง 12 ครั้งใหญ่เกิดขึ้นในช่วงปี 1952 และ 1963 ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในวงกว้างรวมถึงภารกิจคูนิบบาใกล้เซดูนาในทางตอนใต้ของออสเตรเลีย ซึ่ง Sue อาศัยอยู่กับพี่สาวน้องสาวห้าคน พี่ชายน้องชายสองคนและครอบครัวขยายของเธอที่นั่น

Sue หญิงวัย 68 ปี ที่จดจำเกี่ยวกับที่ผู้เฒ่าในชุมชนบอกเล่าให้เธอฟังเกี่ยวกับชีวิตที่มีสุขภาพดีเพื่อเกมล่าสัตว์และสะสมผลไม้ป่าก่อนการทดลอง กล่าวว่า “การแผ่รังสีจากระเบิดปรมาณูลูกแรกเรียกว่า ‘Totem 1’แผ่กระจายไปไกลและเป็นวงกว้าง ฉันถูกทำให้เชื่อว่าเกิดความพิการทางร่างกายและความพิการของทารกแรกเกิดในครอบครัวของฉัน การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในชุมชน และอุบัติการณ์ของโรคมะเร็ง ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจและไทรอยด์เกิดขึ้นเนื่องจากพิษจากการแผ่รังสี มันไม่สำคัญหรอกว่าคุณเป็นชาวอะบอริจินหรือไม่ ทุกคนในพื้นที่นี้ของประเทศได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วยก่อนวัยอันสมควรและการเสียชีวิตในครอบครัวของพวกเขา”

“Sue ผู้ที่ทุกข์ทรมานจากปัญหาไทรอยด์เรื้อรังกล่าวซ้ำ “รัฐบาลออสเตรเลียติดค้างคำขอโทษกับผู้คนทุกคน การลงนามใน TPNW ไม่ควรประวิงเวลาอีกเลยเพื่อไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้นอีก

มีการเปิดการรายงานในสัปดาห์นี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันครบรอบปีที่ 74 ของสหรัฐอเมริกาในการก่อให้เกิดระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมา (6 สิงหาคม 1945) และนางาซากิ (9 สิงหาคม 1945) ในญี่ปุ่น

ประธานสมาคมการแพทย์เพื่อป้องกันสงคราม (ออสเตรเลีย) และ Sue Wareham สมาชิกคณะกรรมการของ ICAN บอกกับ IDN ว่าในขณะนี้ออสเตรเลียเกี่ยวพันกับการทำให้เกิดการกำหนดเป้าหมายอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งจะเกิดขึ้นที่ ไพน์ แกป (Pine Gap) ในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี เช่นเดียวกับการมีส่วนช่วยให้เกิดอันตรายทั่วโลก เธอกล่าวเสริมว่า “สิ่งนี้ยังนำความเสี่ยงการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ในออสเตรเลียอีกด้วย”

 “รายงานร่างแนวทางที่เป็นไปได้อย่างเหมาะสมและตามความเป็นจริงซึ่งการทำงานของ ไพน์ แกป (Pine Gap) ส่วนนี้อาจหยุดลงได้ นี่คือสิ่งที่จำเป็นทั้งในทางศีลธรรมและความปลอดภัยของเราเองและคนอื่น ๆ ที่ออสเตรเลียเลือกเส้นทางในการลดอาวุธนิวเคลียร์มากกว่าการคุมคามจากนิวเคลียร์”

ออสเตรเลียเป็นผู้ให้สถานที่สำหรับ Joint Defence Facility Pine Gap ซึ่งเป็นโรงงานหน่วยสืบราชการลับที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้สร้างและให้ทุน โดยหน่วยงานด้านการสอนแนมของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. National Reconnaissance Office) และสถานีวิจัยด้านธรณีฟิสิกส์และธรณีวิทยาร่วม สถานีตรวจวัดการไหวสะเทือนที่ดำเนินการโดยกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาในทางนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี

ภาคสาธารณะเจ็ดสิบเก้าเปอร์เซ็นต์ที่สนับสนุนให้ออสเตรเลียเข้าร่วมในสนธิสัญญา ตามการอัปเดตของ Ipsos – โดยในเดือนพฤศจิกายน 2018 พรรคแรงงานออสเตรเลีย (Australian Labour Party) ได้ให้คำมั่นสัญญาในการลงนามและให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาในการประชุมแห่งชาติเดือนธันวาคม 2018 หากพรรคชนะการเลือกตั้งสหพันธรัฐในเดือน พฤษภาคม 2019

Dimity Hawkins ผู้ก่อตั้งร่วม ICAN และสมาชิกคณะกรรมการออสเตรเลีย ICAN ได้บอกกับ IDN ว่า: “เราต้องการรัฐบาล สื่อ และผู้คนที่เต็มใจจะเปลี่ยนเป็นผู้ที่มีทัศนคติที่กล้าหาญขึ้นเกี่ยวกับการลดอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อมีส่วนร่วมในการสนทนาเพื่อตีความใหม่เกี่ยวกับการขจัดอาวุธนิวเคลียร์ โดยเจตนารมณ์ทางการเมืองแบบใหม่ในออสเตรเลียจะต้องสร้างขึ้นมาเพื่อเล็งเห็นถึงการหยุดชะงักในส่วนสุดท้ายของปัญหานี้ ผู้คนทั่วโลกต่างจับตามองสิ่งที่ออสเตรเลียทำในสนธิสัญญานี้อย่างใกล้ชิด นี่คือสิ่งที่จำเป็นที่เราเห็นความคืบหน้าของปัญหานี้เหนือการปฏิเสธและการแบ่งพรรคพวก”

Hawkins กล่าวเสริมว่า “ผ่านสนธิสัญญานี้ เราจะมีแนวทางก้าวต่อไปซึ่งไม่ได้เป็นเพียงข้อเสนอวิธีการที่ครอบคลุมในการยับยั้งอาวุธเหล่านี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการระบุถึงผลกระทบต่อมนุษยชาติด้วยการมีข้อผูกพันในเชิงบวกสำหรับการแก้ไขสภาพสิ่งแวดล้อมและความช่วยเหลือเหยื่อ”

ในอดีต ออสเตรเลียมีบทบาทที่สำคัญในความพยายามที่จะบรรลุสนธิสัญญาลดอาวุธแบบพหุภาคีเกี่ยวกับอาวุธเคมีได้อย่างเด่นชัดที่สุด ทั้งนี้ ออสเตรเลียเข้าร่วมในสนธิสัญญาในการห้ามการสร้างระเบิดและระเบิดพวง แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะคัดค้านในสิ่งนั้นก็ตาม

ในรายงาน องค์กรสุขภาพแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระหว่างประเทศ สมาชิกรัฐสภาจากทุกฝ่าย ผู้นำทางศาสนาและบุคคลอื่น ๆ สนับสนุนให้ออสเตรเลียลงนามและให้สัตยาบันในสนธิสัญญา

Michael Kirby อดีตผู้พิพากษาศาลสูงและผู้เขียนร่วมรายงาน บอกกับ IDN ว่า: จริง ๆ แล้วเป็นครั้งแรกในออสเตรเลียที่เรายังคงเห็นการแทรกซอนของศาสนาในกลุ่มพื้นที่สาธารณะ และการปรากฏของการสวดมนต์ในที่สาธารณะโดยผู้นำทางการเมือง ในมุมมองของผมนั้น จะเป็นการดีกว่าหากพวกเขาเปลี่ยนคำสวดในที่สาธารณะของพวกเขา (และการมุ่งร้ายเพื่อควบคุมอาวุธนิวเคลียร์) เป็นการมีส่วนร่วมอย่างเร่งด่วนด้วยการดำเนินการระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพในการรื้อคลังอาวุธนิวเคลียร์และห้ามใช้ และอันตรายจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ เช่นเดียวกับนิวซีแลนด์ที่กระตือรือร้น ออสเตรเลียควรลงนามและให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์

นอกเหนือจากนิวซีแลนด์แล้ว ประเทศไทยและฟิลิปปินส์ได้ทำการลงนามสนธิสัญญาโดยไม่ก่อให้เกิดการขัดขวางใด ๆ ต่อความร่วมมือทางการทหารกับสหรัฐอเมริกา

รายงานระบุว่ามีเพียงโชคเท่านั้นที่ยับยั้งการจุดระเบิดนิวเคลียร์นับตั้งแต่ปี 1945 โดยกลุ่มหัวรุนแรง แฮกเกอร์ และผู้นำทางการเมืองที่ไม่แน่นอนอาจทำให้โอกาสที่อาจเกิดขึ้นนั้นแย่ลงกว่าเดิม

ผู้สนับสนุนในสนธิสัญญาโต้แย้งว่า TPNW มอบการส่งเสริมและและแนวทางในเชิงปฏิบัติใหม่ ๆ เพื่อลดอาวุธ สนธิสัญญามีการดำเนินการต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีอยู่เกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉพาะในสนธิสัญญาแอนตาร์กติก 1959 (1959 Antarctic Treaty), สนธิสัญญาอวกาศ 1967 (1967 Outer Space Treaty), 1968 NPT , สนธิสัญญาพื้นใต้ทะเล 1971 (1971 Seabed Treaty), สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (1996 Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty (CTBT) และห้าสนธิสัญญาในการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค

ออสเตรเลียเป็นรัฐภาคีกับสนธิสัญญาดังที่ได้กล่าวมาก่อนแล้วทั้งหมด รวมถึงสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แปซิฟิกใต้ 1985 (1985 South Pacific Nuclear Free Zone Treaty) ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สนธิสัญญาแห่งราโรตองกา (Treaty of Rarotonga) [IDN-InDepthNews – 06 สิงหาคม 2019]

เครดิตภาพ: ICAN

Most Popular