toward-a-nuclear-free-world

Reporting the underreported threat of nuclear weapons and efforts by those striving for a nuclear free world. A project of The Non-Profit International Press Syndicate Japan and its overseas partners in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC since 2009.

INPS Japan
HomeLanguageThaiUN Lauds India For Training Foreign Diplomats On Disarmament - THAI

UN Lauds India For Training Foreign Diplomats On Disarmament – THAI

-

UN ยกย่องอินเดียสำหรับการฝึกอบรมนักการทูตชาวต่างชาติในด้านการลดอาวุธ

โดย Devinder Kumar

นิวเดลี (IDN) – อินเดียเป็นประเทศสมาชิกแรกขององค์การสหประชาชาติที่ได้เปิดตัวโครงการสัมพันธภาพในด้านการลดอาวุธและความปลอดภัยระหว่างประเทศสำหรับนักการทูตชาวต่างชาติ “นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอินเดียต่อปัญหาด้านนิวเคลียร์และการลดอาวุธ” กล่าวโดยเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศ (MEA)

โครงการนี้มีความมุ่งเน้นต่อนักการทูตอายุน้อยจากประเทศต่าง ๆ อันหลากหลาย และมีความสอดคล้องอย่างใกล้ชิดกับโครงการของ UN สำหรับสัมพันธภาพในด้านการลดอาวุธซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1978 โดยการประชุมสมัชชาใหญ่สมัยพิเศษซึ่งมุ่งเน้นในด้านการลดอาวุธ

หลังจากนั้นมา ก็มีหนุ่มสาวรุ่นใหม่กว่า 1,000 คนจากรัฐสมาชิกจำนวนมากได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสัมพันธภาพในการลดอาวุธขององค์การสหประชาชาติ อินเดียเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมที่กระตือรือร้นในโครงการดังกล่าว เส้นทางสำหรับอาชีพการงานในภายหลังของสมาชิกสัมพันธภาพเหล่านี้เป็นข้อพิสูจน์อันชัดแจ้งซึ่งน่าประทับใจ ทั้งในด้านคุณค่าของการฝึกอบรมและในด้านความสามารถอันสูงส่งของแต่ละคนที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วม

ภายในขอบข่ายของโครงการสัมพันธภาพนั้น สถาบันบริการกิจการต่างชาติของกระทรวงการต่างประเทศได้ต้อนรับนักการทูตรุ่นใหม่ 27 คน – ทุกคนอายุต่ำกว่า 35 ปี – เป็นเวลาสามสัปดาห์จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประเทศที่ได้ส่งผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วยประเทศเวียดนาม จีน บังกลาเทศ ศรีลังกา เมียนมา มองโกเลีย อียิปต์ และเอธิโอเปีย

คุณ Izumi Nakamitsu ปลัดองค์การสหประชาชาติและผู้แทนระดับสูงสำหรับกิจการการลดอาวุธ และคุณ Vijay Keshav Gokhale ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการสำหรับกิจกรรมประจำปีครั้งแรกในวันที่ 14 มกราคม

ตามคำกล่าวของ Nakamitsu คุณค่าของการทำให้ผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่และนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการลดอาวุธนั้นไม่ใช่แค่เรื่องของการลงทุนในศักยภาพสำหรับอนาคต ระเบียบวาระการประชุมสำหรับการลดอาวุธของเลขาธิการใหญ่ UN ซึ่งเผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2018 นั้นเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคคลรุ่นใหม่เพื่อเป็นกำลังสูงสุดสำหรับการเปลี่ยนแปลง

ผู้คนรุ่นใหม่ได้ทำงานเป็นแนวหน้าสำหรับแคมเปญนานาชาติที่ประสบความสำเร็จในการสั่งห้ามการใช้ระเบิด การห้อมล้อม อาวุธยุทโธปกรณ์ และอาวุธนิวเคลียร์ในเร็ว ๆ นี้ “ช่วงอายุที่ใช้เป็นตัวแบ่งสำหรับโครงการของคุณนั้นช่างเลือกได้อย่างเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง – สมาชิกเจ้าหน้าที่ทุกคนของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (ICAN) ต่างมีอายุต่ำกว่า 35 ปีเมื่อคณะกรรมการดังกล่าวได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2017” กล่าวโดย Nakamitsu

“การสนทนาแลกเปลี่ยนที่นำโดยเยาวชนจะสามารถจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ในขณะที่เราพยายามจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ เช่น เครื่องมือไซเบอร์ โดรน และปัญญาประดิษฐ์” เธอกล่าวเพิ่ม

“ความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวจะมีความสำคัญมากในขณะที่เราพยายามปรับตัวเกี่ยวกับวิธีการลดอาวุธเพื่อให้ความพยายามของเรานั้นสอดคล้องกับปัจจัยสำคัญด้านอื่น ๆ เช่น วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งปี 2030 การดำเนินการด้านมนุษยธรรม การป้องกันและการแก้ปัญหาความรุนแรงจากการใช้อาวุธ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม” ผู้แทนระดับสูงสำหรับกิจการการลดอาวุธของ UN กล่าวเสริม

นอกจากนี้ การร่วมมือกันทางการเมืองที่นำโดยเยาวชนจะช่วยส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นของสตรีซึ่งยังเป็นที่ขาดแคลนเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการการลดอาวุธระหว่างรัฐบาล เราต้องยืนยันว่าผู้หญิงจะสามารถเข้าร่วมได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมในการลดอาวุธและกระบวนการสำหรับความปลอดภัยนานาชาติ เพื่อที่จะสามารถนำความคิดเห็นและความสามารถพิเศษมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในการจัดการกับความท้าทายที่จัดการยากซึ่งโลกของเรากำลังประสบอยู่ในตอนนี้

อินเดียพิจารณาว่ารัฐสมาชิกทั้ง 65 แห่งของการประชุมเกี่ยวกับการลดอาวุธ UN ซึ่งจัดในเจนีวานั้นเป็นตัวกลางสำหรับผู้เข้าร่วมในโครงการสัมพันธภาพครั้งใหม่ ในท้ายที่สุดแล้ว ได้มีการเลือก 30 ประเทศเพื่อเป็นตัวแทนทางภูมิศาสตร์ และได้รับการขอให้เสนอชื่อนักการทูตของตน เกณฑ์หลักก็คือพวกเขาควรจะมีพื้นเพก่อนหน้าในด้านปัญหาการลดอาวุธ

โครงการดังกล่าวครอบคลุมปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลดอาวุธและความปลอดภัยระหว่างประเทศ เช่น สภาพความปลอดภัยระดับโลก อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง อาวุธตามแบบบางประเภท ความปลอดภัยในอวกาศ ความร่วมมือทางทะเล ความปลอดภัยของไซเบอร์สเปซ การควบคุมการส่งออก เทคโนโลยีเกิดใหม่ ฯลฯ

โครงการสัมพันธภาพนี้มีเป้าหมายในการช่วยให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้และทัศนคติสำหรับปัญหาร่วมสมัยต่าง ๆ ในด้านการลดอาวุธ การไม่แพร่ขยายอาวุธ การควบคุมอาวุธ และความปลอดภัยระหว่างประเทศ

วิทยากรสำหรับโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโสจากสถาบันวิจัยเพื่อการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ (UNIDIR)ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA), องค์การห้ามอาวุธเคมี (OPCW) และข้อตกลงวัสเซนนาร์ (WA) ในด้านการควบคุมการส่งออกสำหรับอาวุธตามแบบและสินค้าและเทคโนโลยีที่ใช้ได้สองทาง

WA ซึ่งตั้งอยู่ในนครเวียนนานั้นก่อตั้งขึ้นในปี 1995 เพื่อมีส่วนช่วยเหลือในด้านความปลอดภัยและเสถียรภาพทั้งในพื้นที่และระหว่างประเทศ โดยทำการส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่มากขึ้นในด้านการถ่ายโอนอาวุธตามแบบและสินค้าและเทคโนโลยีที่ใช้ได้สองทาง ดังนั้นจึงป้องกันการกักตุนวัตถุดังกล่าวซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่มั่นคงได้ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการป้องกันการซื้อวัตถุเหล่านี้โดยผู้ก่อการร้าย

ตามคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ MEA โครงการยังประกอบไปด้วยการทัศนศึกษานอกสถานที่ไปยังโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ Narora ใน Uttar Pradesh สถานีบรรจุและแยกสินค้าในประเทศที่ Tughlakabad และองค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO)

เจ้าหน้าที่ของ EAM กล่าวเพื่ออธิบายถึงพื้นหลังของการริเริ่มอันไม่เหมือนใครนี้ว่าอินเดียได้จัดการประชุมเกี่ยวกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) มติที่ 1540 ซึ่งทำให้รัฐสมาชิกมีหน้าที่ในการทำการควบคุมภายในประเทศเพื่อป้องกันการไม่แพร่ขยายอาวุธของนิวเคลียร์และวัตถุนำส่งอื่น ๆ

“เราได้จัดการฝึกอบรมอันหลากหลายเกี่ยวกับแง่มุมต่าง ๆ ของการควบคุมการส่งออกและปัญหานิวเคลียร์ เช่น มติที่ 1540 และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี แต่นี่เป็นครั้งแรกที่อินเดียจัดโครงการแม่บทซึ่งรวมประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าด้วยกัน” เจ้าหน้าที่กล่าว

คุณ Nakamitsu ซึ่งเป็นผู้แทนระดับสูงของ UN สำหรับกิจการการลดอาวุธที่เป็นผู้เริ่มโครงการอย่างเป็นทางการกล่าวว่าข้อเสนอของอินเดียในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในด้านการลดอาวุธนิวเคลียร์และความปลอดภัยระหว่างประเทศนั้นสอดคล้องกับหนึ่งในแง่มุมหลักของกำหนดการในการลดอาวุธ: การลงทุนในการศึกษาเพื่อการลดอาวุธ ซึ่งได้รับการตีความว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 4 ซึ่งเรียกร้องให้มี “การส่งเสริมวัฒนธรรมด้านสันติภาพและการไร้ความรุนแรง

เสาหลักต้นที่สี่ของกำหนดการดังกล่าวคือความร่วมมือ การที่จะบรรลุความคืบหน้าครั้งสำคัญได้นั้นยังต้องการการร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างระบบต่าง ๆ ในองค์การสหประชาชาติ การร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาค และกับนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ภาคส่วนเอกชน และประชาสังคม

“เนื่องด้วยความเชื่อมโยงในข้อสุดท้ายนี้ ฉันจึงแนะนำให้อินเดียเปิดตัวโครงการสัมพันธภาพนี้ ฉันเชื่อว่าการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับบทบาทในประวัติศาสตร์ของอินเดียในฐานะที่เป็นผู้ชนะอันโดดเด่นสำหรับการลดอาวุธนิวเคลียร์ระดับโลก” กล่าวโดยผู้แทนระดับสูงของ UN สำหรับกิจการการลดอาวุธ

เธอยังกล่าวเพิ่มว่า ในระยะเวลาที่ความสัมพันธ์ด้านความปลอดภัยเชิงกลยุทธ์กำลังลดลงและการมีขั้วอำนาจหลายขั้วกำลังเติบโตขึ้นนั้น รัฐทั้งหมดที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งรวมถึงอินเดีย จะมีความรับผิดชอบเป็นพิเศษในการสนทนาแลกเปลี่ยนให้ทันสถานการณ์เสมอ ค้นหาขั้นตอนที่มีประโยชน์ร่วมกันในการลดความเสี่ยง และเป็นผู้นำความพยายามในการทำให้พวกเรากลับมามีวิสัยทัศน์และเส้นทางร่วมในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ [IDN-InDepthNews – 23 มกราคม 2019]

ภาพ: ยานปล่อยจรวดวงโคจรพ้องคาบโลกของ ISRO (GSLV-F11) ได้ส่งดาวเทียมสื่อสาร GSAT-7A ออกไปเรียบร้อยแล้วในวันที่ 19 ธันวาคม 2018 เครดิต: ISRO

Most Popular