การลงนามสนธิสัญญาสหประชาชาติเป็นขั้นตอนสำคัญในการเดินหน้าสู่โลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์
โดย Shanta Roy
องค์การสหประชาชาติ (IDN) — ชุมชนนานาชาติได้เดินหน้าด้วยก้าวแรกอันสำคัญสู่โลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์เมื่อ 50 กว่าประเทศลงนามต่อสนธิสัญญาหลักซึ่งรัฐสมาชิกของสหประชาชาติได้ยอมรับในวันที่ 7 กรกฎาคม
พิธีการลงนามซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ 20 กันยายนและดำเนินไปพร้อมกับสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 72 นั้นคาดว่าจะดำเนินต่อไป เนื่องจากจะมีประเทศเข้าร่วมในรายการผู้ลงนามสนธิสัญญาเพิ่มเติม โดยสนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการลงคะแนนเสียงอย่างล้นหลามโดย 122 ประเทศและมีเพียงหนึ่งประเทศที่ต่อต้าน (เนเธอร์แลนด์) และหนึ่งประเทศที่งดออกเสียง (สิงคโปร์)
สนธิสัญญาดังกล่าวได้ให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นต่อการต่อต้านความเป็นไปได้ในการเผชิญหน้าทางการหาร – ซึ่งได้รับการกระตุ้นโดยการคุกคามทางนิวเคลียร์ – โดยสองมหาอำนาจทางนิวเคลียร์ ซึ่งก็คือสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ
เมื่อกล่าวถึงพิธีลงนามแล้ว เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ António Guterres ได้กล่าวสรุปด้วยการกล่าวว่า: “ช่างเป็นเกียรติของผมจริง ๆ ที่ได้เห็นสนธิสัญญาซึ่งมีความสำคัญในประวัติศาสตร์เช่นนี้เปิดรับการลงนาม – มันเป็นสนธิสัญญาการลดอาวุธแบบพหุภาคีแรกในเวลานานกว่าสองทศวรรษ”
เขากล่าวว่า “ผู้รอดชีวิตที่ยิ่งใหญ่จากฮิโระชิมะและนะงะซะกิ – หรือที่เรียกว่า Hibakusha – ได้ย้ำเตือนต่อพวกเขาต่อไปถึงผลลัพธ์ของอาวุธนิวเคลียร์อันเลวร้ายในทางมนุษยธรรม”
“สนธิสัญญานี้เป็นก้าวสำคัญสู่เป้าหมายซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในการสร้างโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ ผมมีความหวังว่ามันจะช่วยเสริมกำลังให้กับความพยายามทั่วโลกในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว” นาย Guterres กล่าวเพิ่มเติม
“‘ในตอนนี้ยังมีอาวุธนิวเคลียร์หลงเหลืออยู่ประมาณหนึ่งหมื่นห้าพันชิ้น เราไม่สามารถอนุญาตให้อาวุธทำลายล้างโลกเหล่านี้สร้างความเสียหายต่อโลกของเราและอนาคตของลูกหลานของเราได้’ เขาประกาศ
สนธิสัญญาการแบนนิวเคลียร์นั้นได้กำหนดว่าการใช้ การขู่ว่าจะใช้ การพัฒนา การทดสอบ การผลิต การสร้าง การซื้อ การเป็นเจ้าของ การกักตุน การส่งต่อ การรับ การจัดวาง การติดตั้งและการใช้งานอาวุธนิวเคลียร์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และยังแบนไม่ให้รัฐต่าง ๆ ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งรวมถึงการกระทำต้องห้าม เช่น การให้เงินทุนต่อการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
สนธิสัญญาจะมีผลบังคับใช้ใน 90 วันหลังจากที่ 50 ประเทศหรือมากกว่านั้นได้ยืนยัน ยอมรับ อนุมัติหรือเห็นพ้องแล้ว
แต่มหาอำนาจทางนิวเคลียร์เก้าประเทศในโลก – สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซียและจีน พร้อมทั้งอินเดีย ปากีสถาน อิสราเอลและเกาหลีเหนือ – ต่างยังไม่ได้เข้าร่วมในการเจรจาต่อรองและไม่ได้สัญญาว่าจะลงนามหรือยอมรับสนธิสัญญา
ดร. Daisaku Ikeda ประธานของ Soka Gakkai International (SGI) ซึ่งเป็นองค์กรฆราวาสทางศาสนาพุทธซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ในโตเกียวและได้ออกแคมเปญเพื่อโลกที่ปราศจากนิวเคลียร์อย่างต่อเนื่องกล่าวว่าสนธิสัญญานั้นได้รับการออกแบบมาโดยคำนึงถึงสถานการณ์ของรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์และพึ่งพานิวเคลียร์อย่างเหมาะสม
“ดังนั้น การกำจัดโรงงานสรรพาวุธออกจากประเทศอย่างสิ้นเชิงจึงไม่ใช่ข้อกำหนดก่อนหน้าการเข้าร่วมสนธิสัญญา รัฐต่าง ๆ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาได้โดยการหยุดสร้างอันตรายจากอาวุธนิวเคลียร์ของตนและส่งแผนการกำจัดโปรแกรมนิวเคลียร์ของตน” เขากล่าวไว้
ดร. Ikeda ยังกล่าวว่าเราไม่สามารถอภิปรายและพิจารณาเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ตามความต้องการทางด้านความปลอดภัยของประเทศใดประเทศหนึ่งได้ ความสงบสุขของมนุษยชาตินั้นเป็นประเด็นส่วนรวมและสิทธิ์ร่วมในการมีชีวิตของทุกคนในโลกต้องเป็นจุดเริ่มต้นในการพิจารณาอยู่เสมอ – และเป็นพื้นฐานในการทำงานของเราเพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์และพัฒนากระบวนทัศน์ใหม่ในด้านความปลอดภัยสำหรับศตวรรษที่ 21
“ประเด็นหลักของปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่การเผชิญหน้าระหว่างรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์และรัฐที่ไม่มี แต่มันเป็นการเผชิญหน้าระหว่างภัยคุกคามของอาวุธนิวเคลียร์และสิทธิในชีวิตของมนุษยชาติ” เขาประกาศ
Greg Mello กรรมการบริหาร ของ Los Alamos Study Group และผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในด้านนโยบายนิวเคลียร์ได้อธิบายว่าพิธีลงนามนั้นเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ในกิจการด้านการลดอาวุธ
“การที่สหประชาชาติออกคำสั่งในการเจรจาต่อรองเพื่อแบนอาวุธนิวเคลียร์ – ซึ่งเป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนโดยรัฐไร้นิวเคลียร์ – นั้นช่างเป็นประวัติการณ์ เราเชื่อว่ามันเป็นการพัฒนาที่สำคัญที่สุดในด้านการลดอาวุธนิวเคลียร์ตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง”
Alice Slater ผู้อำนวยการประจำนิวยอร์กของมูลนิธิสันติภาพแห่งยุคนิวเคลียร์ (Nuclear Age Peace Foundation) และเป็นคณะกรรมการประสานงานของ World Beyond War บอกกับ IDN ว่าแม้ว่าจะไม่มีประเทศใดในรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ทั้งเก้าและรัฐ NATO เข้าร่วมการเจรจาต่อรอง – ยกเว้นเนเธอร์แลนด์ และ พันธมิตรแปซิฟิกของสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ – แต่การตอบสนองอันล้นหลามต่อพิธีเปิดการลงนามนั้นเป็นตัวบ่งชี้ว่า 50 ประเทศดังกล่าวต้องการที่จะยอมรับสนธิสัญญาในกฎหมายของตน และการบังคับใช้นั้นควรจะดำเนินการค่อนข้างรวดเร็ว โดยหวังว่าจะเสร็จสิ้นภายในปีหน้า
ในขณะเดียวกัน เธอกล่าวว่าได้เริ่มมีการตีตราบาปต่ออาวุธนิวเคลียร์แม้ในรัฐที่เรียกว่า “ร่มกำบังนิวเคลียร์” ซึ่งเสแสร้งว่าสนับสนุนการลดอาวุธนิวเคลียร์แต่แท้จริงแล้วยังพึ่งพิงการช่วยเหลือในด้านการปกป้องจากสหรัฐฯ เพื่อใช้การทำลายล้างโดยนิวเคลียร์อย่างรุนแรงเพื่อปกป้องตนเอง
การดำเนินการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์จำนวนมากหลังจากการลงนามสนธิสัญญาต่อต้าน ณ ฐานทัพอากาศของเยอรมนีใน Buchel ซึ่งเป็นที่ที่สหรัฐฯ ใช้อาวุธนิวเคลียร์นั้นได้กระตุ้นให้มีการปรึกษาหารือในรัฐ NATO ดังกล่าว และ Martin Schultz ซึ่งเป็นผู้นำของพรรคประชาธิปไตยสังคมฝ่ายค้านและเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งถัดไปก็ได้เรียกร้องให้มีการกำจัดอาวุธของสหรัฐฯ
ผู้ตำหนิได้กล่าวว่ามีการสาธิตอื่น ๆ ในหลายรัฐ NATO และรัฐนิวเคลียร์ทั่วโลกซึ่งสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลของพวกเขาลงนามในการต่อต้าน และผู้คนกำลังจัดสรรแคมเปญการขายเงินลงทุนในรัฐอาวุธนิวเคลียร์และรัฐที่แบ่งปันนิวเคลียร์ [ดู www.dontbankonthebomb.com]
Kevin Martin ประธาน Peace Action และกองทุน Peace Action Education Fund ได้ตอบสนองต่อการคุกคามของประธานาธิบดีทรัมป์ต่อเกาหลีเหนือว่า: “เกาหลีเหนือเป็นประเทศที่มีคน 25 ล้านคน ระบบการปกครองของพวกเขานั้นน่ารังเกียจ แต่ทรัมป์กลับราดน้ำมันลงบนไฟด้วยการคุกคามที่จะกำจัดทั้งประเทศดังกล่าว การข่มขู่ดังกล่าวนั้นขัดแย้งกับภารกิจของสหประชาชาติอย่างแน่ชัด การข่มขู่ที่จะยกเลิกข้อตกลงพหุภาคีด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านก็อันตรายและไร้ความรับผิดชอบเช่นกัน เราจำเป็นต้องมีการทูต ไม่ใช่วาทศาสตร์ที่รุนแรงในการแก้ปัญหาวิกฤติทางนิวเคลียร์ของเกาหลี”
เขากล่าวว่า 122 ประเทศที่ได้ลงคะแนนเสียงให้กับสนธิสัญญาดังกล่าวเข้าใจถึงความจำเป็นในการเดินหน้าสู่โลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ แทนที่จะทำการข่มขู่ถึงสงครามภูมิภาคที่อาจเปลี่ยนไปเป็นสงครามนิวเคลียร์ได้
Beatrice Fihn กรรมการบริหารขององค์กรรณรงค์นานาชาติเพื่อยุติอาวุธนิวเคลียร์ (International Campaign to Abolish Nuclear Weapons ICAN) กล่าวว่าอาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูงเดียวซึ่งไม่ได้ถูกต้องห้ามมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ แม้ว่ามันจะมีพลังในการทำลายล้างอย่างรุนแรงและสร้างภัยคุกคามต่อมนุษยชาติก็ตาม และรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ก็ยังทำการข่มขู่ที่จะใช้มันในการทำลายเมืองและพลเรือนหลายพันคนของเรา
เธอกล่าวว่ารัฐที่ลงนามในสนธิสัญญาจะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของตนต่อโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์โดยการทำให้อาวุธนิวเคลียร์ผิดกฎหมาย
เมื่อได้รับคำถามเกี่ยวกับกระบวนการยอมรับและประสิทธิภาพของสนธิสัญญาที่ไร้การเข้าร่วมของมหาอำนาจทางนิวเคลียร์แห่งโลก ดร. Palitha Kohona อดีตหัวหน้าฝ่ายสนธิสัญญาสหประชาชาติบอกกับ IDN ว่าการยอมรับนั้นต้องเกิดขึ้นหลังการลงนามและต้องดำเนินการภายในช่วงเวลาที่กำหนด
เขาอธิบายว่าประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมก็สามารถเห็นพ้องและทำการอนุมัติได้หากสนธิสัญญาอนุญาต เนื่องจากการปฏิบัติตามคำสั่งของสนธิสัญญาเป็นเรื่องสำคัญ
เขากล่าวว่า โดยปกติแล้วกระบวนการภายในสำหรับแต่ละประเทศจะเป็นตัวกำหนดวิธีการยอมรับสนธิสัญญา ในบางประเทศ การอนุมัติของคณะรัฐมนตรีนั้นเพียงพอแล้ว แต่ในประเทศอื่น ๆ อาจต้องมีการอนุมัติกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องมีการออกพระราชบัญญัติหรือแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ก่อนหน้า
ในสหรัฐฯ วุฒิสภาต้องอนุมัติสนธิสัญญาก่อนที่จะมีการยอมรับ เราพบว่าสหรัฐฯ ยังไม่ได้ยอมรับอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเล (Law of the Sea Convention) หรือ CTBT เนื่องด้วยเหตุผลดังกล่าวแม้ว่าจะมีการลงนามกันอย่างครึกโครมก็ตาม
ในขณะนี้ มีข้อผูกมัดทางกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งรวมอยู่ในประมวลกฎหมายอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา (Vienna Convention of the Law of Treaties) ซึ่งกำหนดให้มีการปรับใช้สนธิสัญญาที่ได้รับการยืนยันแล้วภายในประเทศ
หากฝ่ายใดในสนธิสัญญาละเมิดพันธกรณีของตน ฝ่ายอื่น ๆ อาจดำเนินการตามความเหมาะสม ซึ่งรวมถึงการดำเนินการตอบโต้ตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา โดยรวมแล้ว ประเทศต่าง ๆ ต่างปฏิบัติตามข้อผูกมัดทางสนธิสัญญาของตน ดร. Kohona ซึ่งเป็นอดีตผู้แทนถาวรของศรีลังกาต่อองค์การสหประชาชาติกล่าวว่าไม่มีประเทศใดที่ชอบถูกตราหน้าว่าเป็นประเทศที่ละเมิดข้อผูกมัดทางสนธิสัญญาของตน
และเมื่อถูกถามเกี่ยวกับอนาคตของสนธิสัญญา เขากล่าวว่า: “โอกาสของสนธิสัญญานิวเคลียร์นั้นไม่สดใส” เพื่อที่จะทำให้มีประสิทธิภาพนั้น มหาอำนาจทางนิวเคลียร์ต้องเข้าร่วมด้วย แต่สนธิสัญญาก็ได้ส่งข้อความที่ชัดเจนต่อมหาอำนาจทางนิวเคลียร์ว่าโลกนี้ต้องการจะเป็นโลกที่ปราศจากนิวเคลียร์ ไม่ว่าจะมีสนธิสัญญาหรือไม่ก็ตาม กล่าวโดย ดร. Kohona ผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสนธิสัญญาระหว่างประเทศพร้อมปริญญาเอกด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
“ในวันหนึ่ง เราอาจตระหนักถึงความพยายามนี้ และหวังว่ามันจะเกิดขึ้นก่อน “The Day After” ซึ่งเป็นละครโทรทัศน์ของสหรัฐฯ ในปี 1983 ซึ่งแสดงถึงเรื่องสมมติเกี่ยวกับก่อนและหลังการโจมตีนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต” [IDN-InDepthNews – 25 กันยายน 2017]
ภาพ: สนธิสัญญาเกี่ยวกับการยับยั้งอาวุธนิวเคลียร์ได้เริ่มรับการลงนามที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติในนิวยอร์กในวันที่ 20 กันยายน 2017 และจะเปิดรับการลงนามอย่างไม่จำกัดเวลา มันจะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อ 50 ประเทศได้ยอมรับหรือเห็นพ้องต่อสนธิสัญญาดังกล่าว เครดิต: ICAN