UN ปูทางสำหรับการประชุมเกี่ยวกับสนธิสัญญาในการกำจัดนิวเคลียร์
โดย เจมเชด บารัวฮ์
เจนีวา | นิววอร์ก (IDN) – สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ยืนยันว่าจะจัดการประชุมที่เปิดสำหรับรัฐสมาชิกทั้งหมดในช่วงต้นของเดือนมีนาคม 2017 เพื่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับ “วิธีการที่มีผลผูกพันตามกฎหมายเพื่อยับยั้งอาวุธนิวเคลียร์อันจะนำไปสู่การกำจัดพวกมันทั้งหมด” โดยการประชุมจะจัดตั้งขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของยูเอ็น ในนิวยอร์ก ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกัน โดยเริ่มจาก วันที่ 27 ถึง 31 มีนาคม และจาก 15 มิถุนายนถึง 17 กรกฎาคม
“การตัดสินใจที่สำคัญในประวัติศาสตร์นี้เป็นการแจ้งให้ทราบถึงจุดสิ้นสุดของความพยายามที่เป็นอัมพาตในการปลดอาวุธนิวเคลียร์จากหลายฝ่ายที่นานนับสองศตวรรษ และในขณะที่เมื่อสองรัฐหลักที่ติดอาวุธนิวเคลียร์มีส่วนร่วมในแสนยานุภาพทางนิวเคลียร์” International Campaign to Abolish Nuclear Weapons (ICAN) ระบุ
องค์กรภาคประชาสังคมอ้างอิงถึงประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน และ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกได้ประกาศความต้องการของพวกเขาเพื่อ “เสริมสร้าง” ความสามารถด้านนิวเคลียร์ของประเทศพวกเขา
“พฤติกรรมที่ขาดความยั้งคิดและก้าวร้าวจากรัสเซียและ ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกของสหรัฐอเมริกา….ทำให้ทั้งโลกที่เหลืออยู่มีเพียงทางเลือกง่าย ๆ เพียงทางเลือกเดียว คือการมองดูความเสี่ยงของสงครามนิวเคลียร์ดำเนินต่อไปอย่างเงียบ ๆ เพื่อเพิ่มหรือใช้การดำเนินการ รวมทั้งยับยั้งอาวุธทำลายล้างสูงซึ่งไม่อาจยอมรับได้และไร้มนุษยธรรม” เบียทริซ ฟิห์น ผู้อำนวยการบริหาร ICAN กล่าว
จอห์น ฮัลล์แลม ของ People for Nuclear Disarmament ชี้ให้เห็นว่า รัสเซียและสหรัฐอเมริกาแต่ละประเทศมีอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 7,000 ลูกในปัจจุบันนี้ โดยเป็นการลดลงอย่างมากจากเมื่อครั้งสงครามเย็นล่าสุด และแต่ละประเทศยังเก็บขีปนาวุธข้ามทวีปบนพื้นดินไว้ต่ำกว่า 1000 ลูกที่อยู่ในสภาพที่อาจสามารถจุดชนวนขึ้นได้ภายในไม่กี่นาที
“การใช้แม้กระทั่งเศษส่วนของอำนาจทำลายล้างเหล่านี้ (โดยส่วนใหญ่แล้วต่อกันและกัน) จะยุติอารยธรรมตามที่เราทราบกัน (บางสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยการใช้ที่น้อยเท่ากับอาวุธนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ 5 ลูก ในพื้นที่เหนือทวีปแผ่นดินใหญ่ดังกล่าว)” ฮัลล์แลมกล่าว
มันขัดแย้งกับฉากหลังนี้ที่ว่าสมัชชาใหญ่ได้อนุมัติการลงมติที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม โดยการลงคะแนนเป็นไปตามการตัดสินใจเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมจากคณะกรรมการครั้งแรกของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ – ซึ่งดำเนินการในภารกิจเพื่อรักษาความปลอดภัยระหว่างประเทศและการลดอาวุธ – เพื่อเริ่มต้นการทำงานเกี่ยวกับสนธิสัญญาใหม่โดยไม่คำนึงถึงความไม่เห็นด้วยที่รุนแรงจากประเทศที่ติดอาวุธนิวเคลียร์บางประเทศ
รัฐสมาชิก UN 113 รัฐได้ลงมติเห็นชอบในการลงมติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม โดยมีผู้ต่อต้าน 35 ราย และงดออกเสียง 13 ราย ดังที่ ICAN ตั้งข้อสังเกต การสนับสนุนเข้มข้นที่สุดในกลุ่มของประเทศ แอฟริกา, ละตินอเมริกา, แคริบเบียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก
กลุ่มระหว่างภูมิภาคประกอบด้วย ออสเตรีย บราซิล ไอร์แลนด์ เม็กซิโก ไนจีเรีย และแอฟริกาใต้ที่ริเริ่มการลงมติ พวกเขามีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การเจรจาต่อรองของปีถัดไป
ตาม ICAN กล่าวนั้น สหรัฐอเมริกาได้คัดค้านการร้องขอการระดมทุนสำหรับการเจรจาต่อรองสี่สัปดาห์ที่มีการวางแผนเกี่ยวกับสนธิสัญญาเพื่อห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ก่อนที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะมีการปรับใช้การลงมติของวันที่ 23 ธันวาคมในการประชุมคณะกรรมการงบประมาณของยูเอ็นเพียงไม่นานนัก
“แต่ภายใต้ความกดดันที่ตึงเครียดจากผู้สนับสนุนของการลดอาวุธนิวเคลียร์นั้นจึงมีการถอนการคัดค้านของตนในท้ายที่สด และคณะกรรมการก็ได้มอบอำนาจการร้องขอ” ICAN ระบุ โดยมีการร่วมมือกันของภาคประชาสังคมที่ทำงานอยู่ใน 100 ประเทศ
ICAN พบเห็นเอกสารรั่วไหลที่กระจายแก่สมาชิก NATO ทั้งหมดจากสหรัฐอเมริกาในเดือน ตุลาคม 2016 ก่อนการตัดสินใจของคณะกรรมการที่หนึ่ง โดยสหรัฐอเมริกา – ซึ่งครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 7,000 ลูก – กระตุ้นให้พันธมิตรของตนทำการคัดค้านการลงมติและบอยคอตการเจรจาต่อรอง
เอกสารมีการเตือนว่าสนธิสัญญาเพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์จะกัดกร่อนแนวความคิดที่ว่าอาวุธนิวเคลียร์ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับบางประเทศและทำให้ยากขึ้นสำหรับ NATA ในการมีส่วนร่วมในการวางแผนสงครามนิวเคลียร์
อย่างไรก็ตาม จาก ICAN แล้ว จำนวนพันธมิตรที่ใกล้ชิดของสหรัฐอเมริกาซึ่งทำการลงคะแนนเสียงต่อต้านการลงมติ หรืองดออกเสียงในเดือนตุลาคมได้ระบุถึงเจตนาของตนเพื่อมีส่วนร่วมในการเจรจาเพื่อช่วยเหลือในการกำหนดรูปร่างของสนธิสัญญา
เนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นผู้จัดอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาในอาณาเขตของตน และได้งดออกเสียงในการลงคะแนนได้ยืนยันว่าตนจะมีส่วนร่วม โดยไม่คำนึงถึงการคัดค้านการลงมติ รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ต้องการให้ประเทศของตนเข้าร่วมด้วย
ICAN ยังคงกระตุ้นให้ทุกประเทศมีส่วนร่วมในการประชุมในปีถัดไป “ทุก ๆ ประเทศมีผลประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการใช้อาวุธนิวเคลียร์อีกเลย ซึ่งอาจได้รับการรับรองผ่านการขจัดอย่างสิ้นเชิงของพวกเขาเท่านั้น เรายังคงเรียกร้องให้ทุก ๆ รัฐบาลเข้าร่วมในการเจรจาต่อรองในปีถัดไปและทำงานเพื่อบรรลุถึงสนธิสัญญาที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ” ฟิห์นกล่าว
ICAN เน้นยำว่า การเจรจาต่อรอง ควรได้รับการดำเนินการไม่ว่าประเทศที่ติดอาวุธนิวเคลียร์จะเห็นด้วยในการมีส่วนร่วมหรือไม่ก็ตาม “ในภารกิจหลัก อาวุธที่ขาดการพิจารณาในลักษณะและมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการก่อให้เกิดมหันตภัยอันสร้างหายนะด้านมนุษยธรรมควรถูกยับยั้งภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โดยสนธิสัญญาใหม่นี้จะบรรจุอาวุธนิวเคลียร์ในรากฐานกฎหมายเดียวกันกับอาวุธอื่น ๆ ที่มีการทำลายล้างสูง” ฟิห์นกล่าวเสริม
เธอหวังว่าเมื่อผ่านอำนาจบรรทัดฐานของมันแล้ว สนธิสัญญาการห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์จะส่งผลต่อพฤติกรรมของประเทศที่ติดอาวุธนิวเคลียร์แม้ว่าพวกเขาจะปฏิเสธการเข้าร่วม มันจะยังส่งผลต่อพฤติกรรมของพันธมิตรทั้งหลายของพวกเขาที่เรียกร้องการป้องกันจากอาวุธนิวเคลียร์ในปัจจุบันนี้อีกด้วย ซึ่งรวมถึงประเทศนั้น ๆ ในยุโรปที่เป็นเจ้าภาพอาวุธนิวเคลียร์ในอาณาเขตของพวกเขา “มันจะมีส่วนช่วยเหลือที่สำคัญต่อการบรรลุถึงโลกที่ไร้ซึ่งอาวุธนิวเคลียร์”
สนธิสัญญามีแนวโน้มที่จะรวมบทบัญญัติที่คล้ายคลึงกันกับที่พบในสนธิสัญญาที่เป็นการห้ามอาวุธทางชีวภาพ อาวุธเคมี ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และระเบิดลูกปรายที่มีอยู่ สิ่งเหล่านี้รวมถึงการหวงห้ามในการใช้ การพัฒนา การสร้าง การแสวงหา การเก็บสะสม การเก็บรักษา การโอนต่อ เช่นเดียวกับการช่วยเหลือ การสนับสนุน หรือการชักนำให้ผู้ใดมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่หวงห้ามใด ๆ เหล่านี้
อาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและระเบิดลูกปรายคือสิ่งที่ได้รับการหวงห้ามอย่างชัดเจนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
อาวุธนิวเคลียร์ยังคงเป็นอาวุธเดียวที่มีการทำลายล้างสูงที่ยังไม่ผิดกฎหมายในลักษณะที่สากลและครอบคลุม แม้จะมีผลกระทบต่อหายนะด้านมนุษยธรรมและทางสภาพแวดล้อมที่มีเอกสารยืนยันเป็นอย่างดีของพวกมัน โดยการศึกษาเมื่อล่าสุดนี้ยังได้แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงของการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์โดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจที่มีการประเมินค่าต่ำไปหรือเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก
เหยื่อและผู้รอดชีวิตจากการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ได้มีส่วนช่วยเหลืออย่างกระตือรือร้น เซ็ตซึโกะ เธอร์โลว์ ผู้รอดชีวิตจากการระเบิดเมือง ฮิโรชิมาเป็นผู้นำการสนับสนุนการห้ามใช้ตลอดมา
“นี่คือช่วงเวลาที่สำคัญแห่งประวัติศาสตร์สำหรับทั้งโลกอย่างแท้จริง” เธอกล่าวสิ่งนี้ในการลงคะแนนเสียง วันที่ 23 ธันวาคม “สำหรับเราผู้ที่รอดชีวิตในการระเบิดปรมาณูของเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ เราทราบว่าอาวุธนิวเคลียร์นั้น ไร้มนุษยธรรม ขาดการยั้งคิด และไม่อาจยอมรับได้ ทุกประเทศควรมีส่วนร่วมในการเจรจาต่อรองในปีถัดไปเพื่อคว่ำบาตรพวกมัน” [IDN-InDepthNews – 26 ธันวาคม 2016]
ภาพถ่าย: สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติอนุมัติการลงมติที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในวันที่ 23 ธันวาคม2016 เครดิต: ICAN