toward-a-nuclear-free-world

Reporting the underreported threat of nuclear weapons and efforts by those striving for a nuclear free world. A project of The Non-Profit International Press Syndicate Japan and its overseas partners in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC since 2009.

INPS Japan
HomeLanguageThaiA Beacon of Hope from A Buddhist Leader in the Face of...

A Beacon of Hope from A Buddhist Leader in the Face of Crises – Thai

-

ประทีปแห่งความหวังจากผู้นำชาวพุทธในการเผชิญหน้าวิกฤต

จากมุมมองของ ราเมศ จูรา

เบอร์ลิน | โตเกียว (IDN) – ประชาคมโลกเช่นเดียวกับสหประชาชาติ – สมาคมโซคา กักไก (Soka Gakkai International (SGI)) ซึ่งเป็นองค์กรพุทธศาสนิกชนคือประทีปแห่งความหวังส่องประกายให้กับโลกที่ถูกปกคลุมด้วยเมฆดำของวิกฤตที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สมาคมระหว่างประเทศของสมาคมโซคา กักไก (Soka Gakkai) และองค์กร NGO ในฐานะที่ปรึกษาให้กับ UN ECOSOC สมาคม SGI มีสมาชิกใน 192 ประเทศและในเขตปกครองทั่วโลก

ประธานสมาคม SGI คือคุณไดซากุ อิเคดะ นักปรัชญาชาวพุทธ ผู้สร้างสันติภาพและนักการศึกษา นับตั้งแต่ปี 1983 ในทุก ๆ ปีเขาจะออกประกาศ ข้อเสนอเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดหลักของพุทธศาสนิกชนและความท้าทายต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายที่สังคมโลกต้องเผชิญในการพยายามให้เกิดการตระหนักถึงสันติภาพและความปลอดภัยของมนุษยชาติ นอกจากนี้เขายังได้เสนอประเด็นที่เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เช่น การปฏิรูปการศึกษา สิ่งแวดล้อม สหประชาชาติและการยกเลิกการใช้อาวุธนิวเคลียร์

ในข้อเสนอเพื่อสันติภาพประจำปีที่ 39 ฉบับล่าสุดของเขา ได้นำเสนอในหัวข้อ “การสร้างคุณค่าในช่วงเวลาวิกฤต” ซึ่งได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2021 ในวาระวันครบรอบการก่อตั้งสมาคม SGI ประธานสมาคมคุณอิเคดะได้เรียกร้องความร่วมมือจากทั่วโลกเพิ่มเติมในการระบุประเด็นปัญหาสำคัญในช่วงเวลาของเรา: เหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้วซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่แย่ลงและการโจมตีของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ซึ่งทำให้เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

นอกจากนี้ยังมีอาวุธนิวเคลียร์กว่า 13,400 รายการในคลังแสงของเก้าประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในปัจจุบันและ 32 รัฐที่มีการรับรองอาวุธนิวเคลียร์คือภัยอันตรายที่มีอยู่ ได้มีการเพิ่มแรงระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์อย่างมีอานุภาพมากขึ้นเป็นเท่าทวีมาตั้งแต่ปี 1945 เมื่อมีการทิ้งระเบิดปรมาณูทำลายล้างเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่นจนราบคาบ

ประธานสมาคม SGI ย้อนความหลังให้ฟังว่าการเร่งแข่งขันสร้างอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงระหว่างสงครามเย็น ประธานสมาคมคนที่สองของสมาคมโซคา กักไก คุณโจเซอิ โทดะ (1900–1958) ได้ออกแถลงการณ์ในเดือนกันยายน ปี 1957 เรียกร้องให้มีการยุติการใช้อาวุธนิวเคลียร์ เขากล่าวเสริมว่า “ด้วยแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์นี้ องค์กรของเราจึงได้ทำงานเพื่อการห้ามมิให้มีการใช้อาวุธนิวเคลียร์อย่างกว้างขวางและเพื่อทำให้สิ่งนี้เป็นบรรทัดฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีการบังคับใช้”

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ สมาคม SGI จึงได้ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เช่น องค์กรรณรงค์เพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (ICAN) อย่างกระตือรือร้น เมื่อพิจารณาถึงประวัติความเป็นมานี้จะเห็นว่าการได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2017 และการเข้าร่วมการบังคับใช้สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ประมาณสามปีต่อมาทำให้เกิดการฉลองอันยอดเยี่ยมที่ไม่มีใครเทียบได้สำหรับองค์กร SGI ด้วย

ดร. อิเคดะ ให้ข้อสังเกตว่า – ด้วยความพึงพอใจที่เห็นได้อย่างชัดเจน – ถึงแม้ว่าความซับซ้อนของวิกฤตการณ์จะยังมีอยู่ต่อไป แต่ “ความก้าวหน้าในการพยายามสร้างสรรค์สังคมโลกที่ตั้งปณิธานเพื่อสันติภาพและคุณค่าของมนุษยธรรมไม่ได้สิ้นสุดลง” ตัวอย่างของความก้าวหน้าที่สำคัญคือการเข้าร่วมการบังคับใช้สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2021

สนธิสัญญาแสดงแผนที่เส้นทางสู่การบรรลุเป้าหมายการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ที่ต้องการมานานอย่างชัดเจน ประเด็นปัญหาที่ได้มีการระบุไว้ ณ สหประชาชาติในปี 1946 คือ หนึ่งปีหลังจากที่มีการก่อตั้ง แนวทางการแก้ปัญหาที่ได้มีการนำมาปรับใช้ในช่วงแรก ๆ โดยสมัชชาใหญ่; ยังคงรอการดำเนินการนับแต่นั้นมา

ยังคงอยู่ในสภาวะซวนเซภายใต้ผลกระทบจากภัยพิบัติโรคระบาด

แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าเกิดขึ้นในส่วนหน้าของสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) แต่โลกยังคงเสียศูนย์จากภาวะผลกระทบจากภัยพิบัติโรคระบาด ตามรายงานเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2021 มีผู้ติดเชื้อ COVID-19 กว่า 99 ล้านคน จากตัวเลขนี้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2.12 ล้านคน ในระยะเวลากว่าหนึ่งปีเพียงเล็กน้อย ตัวเลขผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 มีจำนวนเกินกว่าจำนวนรวมกันของชีวิตที่อ้างว่าเกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติขนานใหญ่จำนวนมากในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

“คนคนหนึ่งไม่อาจจะเข้าใจถึงความเศร้าโศกที่บาดลึกที่ผู้ที่สูญเสียคนที่ตนรักในแบบที่คาดไม่ถึงต้องประสบได้; และความเจ็บปวดนี้บาดลึกลงไปอีกด้วยความเป็นจริงที่ว่าเนื่องด้วยมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสจึงทำให้เหยื่อจำนวนมากไม่สามารถร่วมใช้ช่วงเวลาครั้งสุดท้ายของพวกเขาโดยมีครอบครัวอยู่เคียงข้างได้” ดร. อิเคดะ กล่าวรำพัน

เขาเน้นให้เห็นถึงความย่อยยับของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาด มีการประมาณว่าเป็นภัยคุกคามต่อการครองชีพของผู้คนถึง 1.6 พันล้านคน – ครึ่งหนึ่งของแรงงานทั่วโลก — และได้เน้นให้เห็นถึงความจำเป็นในการส่งเสริมการป้องกันสังคมเบื้องต้น

ในข้อเสนอเพื่อสันติภาพฉบับล่าสุดของเขา ผู้นำสมาคม SGI ให้ความสนใจต่อประเด็นปัญหาหลัก ๆ ในสามส่วน

การทำให้ระบบธรรมาภิบาลโลกมีความเข้มแข็งมากขึ้น

ประเด็นแรกเกี่ยวกับการทำให้ระบบธรรมาภิบาลโลกมีความเข้มแข็งมากขึ้นและการสร้างแนวทางสำหรับการต่อสู้กับโรคติดเชื้อทั่วโลก

เนื่องจากความเป็นไปได้ของการปรากฏขึ้นของโรคติดเชื้อใหม่ในอนาคต ประธานสมาคม SGI จึงได้เรียกร้องให้มีการจัดการประชุมในระดับสูงและการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อนำเอาแนวทางในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดไปปรับใช้ในระดับนานาชาติ

บทบาทสำคัญของเยาวชน

นอกจากนี้เขายังได้วิงวอนในการประชุมผู้นำเยาวชน “นอกเหนือจาก COVID-19″ ให้มีการหารือเกี่ยวกับโลกแบบไหนที่คนหนุ่มสาวอยากจะเห็นหลังวิกฤตในปัจจุบัน “การประชุมผู้นำนี้อาจจะใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มออนไลน์ ดังนั้นจึงเป็นการทำให้คนหนุ่มสาวจำนวนมากจากภูมิหลังที่แตกต่างกันมากมายสามารถเข้าร่วมได้” ดร. อิเคดะกล่าว

ในปี 2020 สหประชาชาติได้ดำเนินการโครงการข้อคิดริเริ่มของ UN75 – ความพยายามอันแรงกล้าที่จะรับฟังเสียงของผู้คนทั่วโลกผ่านแบบสำรวจและบทสนทนา จากรายละเอียดของข้อเสนอแนะในรายงานของ UN75 ดร. อิเคดะ เน้นย้ำโดยเฉพาะถึงแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับการสร้างสภาเยาวชนแห่งสหประชาชาติที่มีบทบาทในการสื่อสารแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นผู้นำของสหประชาชาติและข้อเสนอที่ได้รับการพัฒนามาจากมุมมองของคนหนุ่มสาว

สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW)– จุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

ประเด็นที่สองที่ประธานสมาคม SGI นำเสนอเป็นข้อเสนอโดยเฉพาะคือการห้ามและการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์

“การขจัดท่าทีที่เป็นอันตรายร้ายแรงจากอาวุธเหล่านี้คือหัวใจสำคัญของทั้งสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์  (NPT)” ซึ่งได้เข้าร่วมการบังคับใช้ในปี 1970 และสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ซึ่งได้กลายมาเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางกฎหมายในระดับนานาชาติเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2021 เขาอธิบาย

“การเข้าร่วมเพื่อบังคับใช้สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคที่การมีอาวุธนิวเคลียร์บนโลกต่อไปได้มีการกำหนดเงื่อนไขที่ไม่อาจยอมรับได้โดยวิธีการผูกพันทางกฎหมาย”

ในมุมมองของเขา ตอนนี้ได้ให้ความสนใจต่อการประชุมรัฐภาคีของสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ที่จะเกิดขึ้นครั้งแรก เนื่องจากเป็นการประชุมที่ยินดีต้อนรับทุกรัฐให้เข้าร่วมดังนั้นความสนใจสำคัญหลัก ๆ จึงอยู่ที่วิธีการทำให้รัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์และรัฐที่ต้องพึ่งพานิวเคลียร์ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาหารือด้วยความรอบคอบให้ได้มากที่สุด

บทบาทพิเศษของญี่ปุ่น

ดร. อิเคดะ เน้นย้ำว่า “ในฐานะประเทศเดียวเท่านั้นในโลกที่ประสบกับการโจมตีของอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงสงคราม ญี่ปุ่นจึงควรเป็นผู้วางแนวทางสำหรับรัฐที่ต้องพึ่งพานิวเคลียร์โดยการประกาศเจตนารมณ์ของตนในการเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีของสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ครั้งแรกและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการหารือในเชิงรุก”

“บนพื้นฐานนี้ ญี่ปุ่นควรตั้งเป้าหมายสำหรับการให้สัตยาบันในช่วงแรก ๆ เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์ของประเทศและเจตนารมณ์พื้นฐานสำคัญของสนธิสัญญา – คือเพื่อปกป้องสิทธิ์ในการดำรงชีวิตของผู้คนทั้งมวลที่เราได้ร่วมอาศัยอยู่บนโลกใบนี้และเพื่อให้มั่นใจถึงความอยู่รอดของคนรุ่นอนาคต – มันจะสามารถส่งสารให้กับโลกที่ทรงพลังอย่างแน่นอน ด้วยวิธีนี้ ญี่ปุ่นจะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมสำคัญต่อการทำให้มั่นใจได้ว่าสิ่งที่กล่าวถึงจะได้รับผลลัพธ์ที่จะช่วยพัฒนาให้ดีขึ้นได้”

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และอาวุธนิวเคลียร์

ยิ่งไปกว่านั้นประธานสมาคม SGI จะเสนอที่ประชุมสำหรับการหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาวุธนิวเคลียร์และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในระหว่างการประชุมรัฐภาคีเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งประเด็นหลักของอาวุธนิวเคลียร์และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ให้เป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทุกรัฐและเป็นเหมือนแรงกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์และรัฐที่ต้องพึ่งพานิวเคลียร์ให้ได้มากที่สุดได้

ความหมายที่แท้จริงของความปลอดภัยในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและวิกฤต COVID-19

นอกจากนี้เขายังต้องการให้มีการกำหนดตารางการประชุมทบทวนอนุสัญญาของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ขึ้นในเดือนสิงหาคมของปีนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของความปลอดภัยในแง่ของวิกฤตต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและวิกฤตการแพร่ระบาด ในเอกสารสุดท้ายเขายังเสริมว่าควรจะมีการให้คำปฏิญาณว่าจะไม่มีการใช้อาวุธนิวเคลียร์และให้คำปฏิญาณในการระงับการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นก่อนการประชุมทบทวนอนุสัญญาฯ ในปี 2025

ประธานสมาคม SGI แย้งว่าสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) เป็นการเปิดทางให้รัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์กลายมาเป็นรัฐภาคีโดยการส่งแผนการระงับโครงการนิวเคลียร์ของตน อาจจะทำให้การเข้าร่วมในสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ดังกล่าวของรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์และรัฐที่ต้องพึ่งพานิวเคลียร์ภายใต้กฎเกณฑ์ของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ง่ายขึ้นได้โดยการดำเนินการการเจรจาหลายฝ่ายเกี่ยวกับการปลดอาวุธนิวเคลียร์โดยได้รับการเสริมกระชับข้อตกลงด้วยการให้คำปฏิญาณว่าจะไม่มีการใช้อาวุธนิวเคลียร์และในการระงับการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เขาเรียกร้องความพยายามในการเชื่อมโยงการดำเนินการของสองสนธิสัญญานี้ในแนวทางที่จะทำให้เราอยู่บนเส้นทางที่จะนำไปสู่การสิ้นสุดยุคนิวเคลียร์

การสร้างชีวิตใหม่ในโลกหลังวิกฤต COVID

ประเด็นที่สามที่ดร. อิเคดะ ยกขึ้นมาเสนอในข้อเสนอที่เหมาะสมกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตใหม่ซึ่งเกิดการชะงักงันจากภาวะฉุกเฉินของวิกฤต COVID-19

ตามที่สหประชาชาติได้เน้นย้ำซ้ำ ๆ ถึงสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดอาการตกตะลึงจากวิกฤต COVID-19 ได้ขยายเป็นวงกว้างทำให้ผู้คนหลายล้านคนตกอยู่ในหายนะทางการเงิน เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ตระหนักอย่างชัดเจนถึงความเร่งด่วนของการสร้างการเข้าถึงระบบการป้องกันทางสังคมให้มีความเข้มแข็งขึ้น นอกจากนี้เป้าหมายยังได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกองค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) 37 ประเทศ

“ผมหวังว่าประเทศสมาชิกองค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) จะเป็นผู้นำในการพยายามเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งหมดที่สัมพันธ์กันกับการทำให้มั่นใจถึงมาตรการในการป้องกันสังคมในระดับสากล ผมยังหวังด้วยว่าพวกเขาจะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างและจัดเตรียมนโยบายมาตรฐานระดับโลกสำหรับการสร้างเศรษฐกิจและวิถีแห่งการดำรงชีวิตขึ้นใหม่ซึ่งได้ถูกทำลายจากวิกฤต COVID-19” ดร. อิเคดะกล่าว

การเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว

เขาเสริมว่าหนึ่งทิศทางที่สถานการณ์นี้อาจจะนำไปใช้ นั่นคือการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่และการสร้างโอกาสงานผ่านการเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว การปรับลดขนาดการใช้จ่ายของกองทัพและการจัดสรรการประหยัดทรัพยากรเพื่อทำให้กับระบบการป้องกันสังคมเข้มแข็งขึ้น

ความยืดหยุ่นทางสังคม

ยิ่งไปกว่านั้นประธานสมาคม SGI ให้ข้อสังเกตว่าสมาชิกองค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) มีบทบาทสำคัญในการบัญญัตินโยบายที่จะช่วยส่งเสริมความยืดหยุ่นทางสังคมอย่างมุ่งมั่นพยายาม “เรามีชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่เราจำเป็นจะต้องปรับตัวนำเอา ‘วิธีการรับมือกับภัยอันตรายหลากหลายประเภท’ ที่มีความครอบคลุมและเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันมาใช้เพื่อรับมือกับภัยคุกคามและความท้าทายด้วยความเข้าใจอย่างชัดเจนต่อลักษณะของความเสี่ยงอย่างเป็นระบบตามที่ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานใหญ่สหประชาชาติสำหรับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ”

ดร. อิเคดะให้การรับรองว่าการนำเอาเครือข่ายความร่วมมือความสัมพันธ์กับองค์กรพุทธศาสนิกชนมาใช้ได้มีการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของประชาสังคม มันคือ “ความมุ่งมั่นรับผิดชอบอย่างเต็มใจต่อการทำงานเพื่อไปสู่ปี 2030 กับคนและองค์กรที่มีจุดประสงค์เดียวกันเพื่อเร่งให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเพื่อตระหนักถึงสังคมโลกแห่งสันติภาพและคุณค่าของมนุษยธรรม”

ข้อเสนอเพื่อสันติภาพปีที่ 39 – เหมือนเช่นข้อเสนอแนะของเขาก่อนหน้านี้ – คือการดำเนินการที่ละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบอย่างเห็นได้ชัด การก่อตั้งไม่ได้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของพระนิชิเร็งเพียงเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับวัฒนธรรมของสันติภาพ และสติปัญญาของผู้แต่งรวมทั้งการพบปะกับนักปรัชญาพร้อมทั้งรัฐบาล และผู้นำศาสนาที่หลากหลายจากทั่วโลกในช่วงเวลาหลายปีด้วย [IDN- สำนักข่าว InDepthNews – วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021]

ภาพ: ประธานสมาคม SGI คุณไดซากุ อิเคดะ เครดิต: ไซเคียว ชิมบัน

Most Popular