การรณรงค์ ‘Quit Nukes’ ของออสเตรเลียมีเป้าหมายที่กองทุนเงินเกษียณ
โดย Neena Bhandari
ซิดนีย์ (IDN) – การรณรงค์ใหม่กำลังกระตุ้นให้ชาวออสเตรเลียเรียกร้องกองทุนเงินเกษียณของพวกเขาให้ตัดผู้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ออกจากการลงทุนของตน ซึ่งสอดคล้องกับสนธิสัญญาของสหประชาชาติ (United Nations Treaty) เกี่ยวกับการห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ซึ่งมีการอนุมัติจากทั้ง 33 รัฐและจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากอีก 17 รัฐเพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ – 90 วันหลังการมอบสัตยาบันสารครั้งที่ห้าสิบ
การริเริ่มร่วมของสมาคมการแพทย์เพื่อป้องกันสงคราม (MAPW) และการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (ICAN) ทั้งนี้การรณรงค์ Quit Nukes คือโครงการของออสเตรเลียที่ทำงานร่วมกับ Paxซึ่งเป็นผู้สร้างรายงาน ‘Don’t Bank on the Bomb’ ประจำปี ซึ่งเป็นเอกสารประกอบการจัดหาเงินทุนทั่วโลกด้านอาวุธนิวเคลียร์
Margaret Peril ผู้อำนวยการ Quit Nukes กล่าวว่า “แต่เดิมทีนั้นการรณรงค์มีเป้าหมายที่อุตสาหกรรมการเกษียณอายุของประชาชนชาวออสเตรเลีย ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการลงทุนมากกว่าสองล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในนามของสมาชิกของตน ซึ่งทำให้การลงทุนนี้เป็นหนึ่งในสินทรัพย์กองทุนเงินบำนาญที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดทั่วโลก”
เนื่องจากชาวออสเตรเลียจำนวน 69 เปอร์เซ็นต์ไม่ต้องการให้ลงทุนเงินในกองทุนการเกษียณอายุของพวกเขาในบริษัทที่ให้ความช่วยเหลือด้านการผลิตและการใช้อาวุธนิวเคลียร์ตามการสำรวจโดย Ipsos ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยการตลาดสากล เมื่อสิงหาคม 2019 แต่จากกองทุนเงินเกษียณราว ๆ 190 แห่ง มีเพียง Australian Ethical และ Future Super สองแห่งเท่านั้น – ที่ได้รับการรับรองโดย Pax ว่าเป็นองค์กรที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิง
Future Superมุ่งมั่นที่จะไม่ลงทุนในพลังงานนิวเคลียร์ การทำเหมืองยูเรเนียม อาวุธยุทโธปกรณ์นิวเคลียร์ หรือบริษัทที่ได้ผลกำไรจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยผู้ก่อตั้ง Simon Sheikh ได้บอกกับ IDNว่า “เราพิจารณาในระยะยาวเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความเป็นไปได้สำหรับผลกระทบด้านนิวเคลียร์ที่เป็นภัยพิบัติ และชาวออสเตรเลียสมควรได้รับทางเลือกเกี่ยวกับวิธีการลงทุนในเงินและอนาคตที่พวกเขาสร้างเพื่อตนเองและผู้คนรุ่นต่อไป”
การรณรงค์กระตุ้นการเงินที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์โดยการแจ้งให้กับกองทุนเงินเกษียณทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอยู่ บริษัทต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงและนโยบายที่จำเป็นเพื่อบรรลุถึงพอร์ตที่ปราศจากความเกี่ยวข้องกับบริษัทที่มีการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
Stuart Palmer หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านจริยธรรมที่ Australian Ethical ซึ่งเป็นบริษัทที่ทราบกันดีสำหรับการปฏิเสธการจัดหาเงินทุนด้านอาวุธนิวเคลียร์กล่าวว่า “เราเชื่อว่าภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์ยังคงเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ต่อชีวิตในโลกนี้และความเป็นไปได้สำหรับการใช้เทคโนโลยีด้านนิวเคลียร์ในทางที่ผิดและอุปกรณ์สำหรับการผลิตอาวุธคือหนี่งในเหตุผลหลักที่เราจะไม่ลงทุนในพลังงานนิวเคลียร์ด้วยเช่นกัน”
Quit Nukes สนับสนุนสำหรับการคัดกรองจาก 18 บริษัททั่วทั้งทุกพอร์ต เช่น Aecom (สหรัฐอเมริกา), Aerojet Rocketdyne (สหรัฐอเมริกา), Airbus (เนเธอร์แลนด์) BAE Systems (สหราชอาณาจักร) Bechtel (สหรัฐอเมริกา) Boeing (สหรัฐอเมริกา) BWX Technologies (สหรัฐอเมริกา) Fluor (สหรัฐอเมริกา) General Dynamics (สหรัฐอเมริกา) Honeywell International (สหรัฐอเมริกา) Huntington Ingalls Industries (สหรัฐอเมริกา) Jacobs Engineering (สหรัฐอเมริกา) Larsen & Toubro (อินเดีย) Lockheed Martin (สหรัฐอเมริกา) Northrop Grumman (สหรัฐอเมริกา) Safran (ฝรั่งเศส) Serco (สหราชอาณาจักร) และ Thales (ฝรั่งเศส)
“ผู้คนส่วนใหญ่จากทั่วโลกต้องการเห็นการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์และกำลังตระหนักว่าสามารถใช้บัญชีธนาคารและเงินทุนปริมาณมาก ๆ ของตนเพื่อเป้าหมายนี้ต่อได้” Gem Romuld ผู้อำนวยการ ICAN Australia ได้บอกกับ IDN ว่า “ในขณะที่เม็ดเงิน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐกำลังหลั่งไหลลงในอุตสาหกรรมอาวุธนิวเคลียร์ทุก ๆ ปี การหดตัวของเงินทุนและใบอนุญาตทางสังคมสำหรับการผลิตระเบิดนิวเคลียร์คือวิธีการที่ทรงพลังในการใช้สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์”
สถาบันทางการเงินในระดับสากลกำลังตัดผู้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในหลาย ๆ ประเทศที่ยังไม่ได้เข้าร่วม TPNW ทั้งนี้เมื่อมีการบังคับใช้สนธิสัญญาจะมีผลให้อาวุธนิวเคลียร์เป็นสิ่งผิดกฎหมายเช่นเดียวกับสนธิสัญญาอื่น ๆ ที่ได้ทำให้การใช้อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ ระเบิด และระเบิดลูกปรายผิดกฎหมาย
“สนธิสัญญายังห้ามไม่ให้ผู้ใดช่วยเหลือในด้านการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งรวมถึงการจัดหาเงินทุน” Romuld กล่าวเสริม “ยังมีการจัดหาส่วนประกอบหลักและแรงจูงใจให้กับสถาบันทางการเงินจำนวนมากเพื่อกำจัดผู้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงกองทุนเงินบำนาญของดัตช์หลัก ABPและกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์”
การลงทุนในอาวุธนิวเคลียร์ยังขัดแย้งกับหลักเกณฑ์ที่สนับสนุนของสหประชาชาติสำหรับการลงทุนแบบรับผิดชอบ (UNPRI) สำหรับนักลงทุนและผู้ให้คำแนะนำที่ลงนามในสัญญาต่อหลักเกณฑ์สำหรับการลงทุนแบบรับผิดชอบ Peril ให้ข้อมูลกับ IDN ว่า “มีการคาดหวังให้พวกเขาเข้าร่วมในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ทั้งนี้ SDG 16 ได้วางเงื่อนไขด้านสังคมเพื่อสันติท่ามกลางเงื่อนไขอื่น ๆ ดังนั้นแล้วการลงทุนในอาวุธนิวเคลียร์มีความขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของ SDG 16 อย่างชัดเจน”
เป็นสิ่งสำคัญที่พึงทราบว่าชาวออสเตรเลีย 79 เปอร์เซ็นต์ต้องการให้รัฐบาลของตนลงนามและอนุมัติ TPNW ตามข้อมูลจาก Ipsos เมื่อพฤศจิกายน 2018 ออสเตรเลียไม่ได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ใด ๆ แต่เห็นด้วยกับหลักการการป้องปรามนิวเคลียร์แบบขยายภายใต้แนวร่วมจากสหรัฐ ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นกุญแจสู่ความมั่นคงของชาติของออสเตรเลีย
ดร. Stephan Frühling รองศาสตราจารย์ที่ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และการป้องกันของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ในแคนเบอร์ราได้บอกกับ IDN ว่า “ออสเตรเลียเห็นคุณค่าของบทบาทการสร้างความเสถียรภาพในพันธมิตรระหว่างสหรัฐอเมริกา-ออสเตรเลีย มากกว่าพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาประเทศอื่น ๆ และคำถามที่ออสเตรเลียสามารถทำได้ในทางการเมืองเช่นเดียวกับการสนับสนุนการป้องปรามของสหรัฐอเมริกาในเอเชียในเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการป้องปรามนิวเคลียร์ มีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหาที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคตมากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต”
ดังนั้นแล้วออสเตรเลียให้ความสำคัญกับการป้องปรามนิวเคลียร์แบบขยายของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเล็งเห็นเป็นปัจจัยในการสร้างความเสถียรภาพในระเบียบยุทธศาสตร์ของเอเชียหรือไม่? David Santoro รองประธานและผู้อำนวยการสำหรับนโยบายนิวเคลียร์ที่สำนักงานใหญ่ที่โฮโนลูลู Pacific Forum ได้บอกกับ IDN “ออสเตรเลียตระหนักว่าตนจำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องปรามและป้องกันในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมในระดับที่ใหญ่ขึ้นต่อการป้องปรามนิวเคลียร์แบบขยายของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ยังเห็นความพยายามดังกล่าวเป็นปัจจัยการสร้างเสถียรภาพในการเปลี่ยนแปลงอินโดแปซิฟิกอย่างรวดเร็วซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะโดยการเฟื่องฟูขึ้นใหม่ของจีน อย่างไรก็ตามออสเตรเลียยังคงต้องการเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับการมีความรับผิดชอบร่วมกันในภาระการป้องปรามและการป้องกันที่ยิ่งใหญ่กว่า การสนทนาเพิ่มเติมภายใน ANZUS [สนธิสัญญาแอนซัส] เกี่ยวกับคำถามเหล่านี้ โดยเฉพาะขอบเขตของนิวเคลียร์ยังเป็นสิ่งจำเป็น”
ใน ‘การยกระดับความร่วมมือ: การป้องปรามนิวเคลียร์แลพันธมิตรระหว่างสหรัฐอเมริกา-ออสเตรเลีย’ รายงานที่เผยแพร่โดยศูนย์การศึกษาสหรัฐเมริกาของมหาวิทยาลัยซิดนีย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2019 ผู้เขียน – Frühling, Santoro และศาสตราจารย์ Andrew O’Neil – โต้แย้งว่าข้อกังวลของออสเตรเลียต่อการป้องปรามนิวเคลียร์แบบขยายของสหรัฐอเมริกา “เกี่ยวกับการล่อให้ติดกับเป็นหลักไม่ใช่การยกเลิก” และ “พันธมิตรควรพิจารณาการทำงานร่วมกันในการลดที่มุ่งผลระยะยาวตามธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อลดความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์สำหรับการป้องปรามและเพื่อส่งสัญญาณว่าการทำงานร่วมกันนั้น ๆ อาจขยายเป็นความรุนแรงสูงสุดเพื่อเชื่อมความเกี่ยวข้องของอาวุธนิวเคลียร์หากสภาพแวดล้อมในการรักษาความปลอดภัยของออสเตรเลียเสื่อมโทรมลง”
ช่วงต้นปี 2019 ทั้งเก้ารัฐ – สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส จีน อินเดีย ปากีสถาน อิสราเอลและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) – ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ราว ๆ 13,865 ลูก โดยมีการใช้ 3,750 ลูกกับกองกำลังปฏิบัติการและเกือบ ๆ 2,000 ลูกของอาวุธนิวเคลียร์เหล่านี้ได้รับการเก็บรักษาไว้ในสถานะการแจ้งเตือนเชิงปฏิบัติการระดับสูง ตามสถาบันวิจัย Stockholm International Peace Research Institute (SIPRI). [IDN-InDepthNews – 22 พฤศจิกายน 2019]
ภาพ (ซ้ายไปขวา): Margaret Peril ผู้อำนวยการ Quit Nukes, ซีอีโอรักษาการด้านจริยธรรมของออสเตรเลีย Steve Gibbs, Gem Romuld ผู้อำนวยการ ICAN Australia แหล่งที่มา: Quit Nukes