UN ยกย่องอินเดียสำหรับการฝึกอบรมนักการทูตชาวต่างชาติในด้านการลดอาวุธ
โดย Devinder Kumar
นิวเดลี (IDN) – อินเดียเป็นประเทศสมาชิกแรกขององค์การสหประชาชาติที่ได้เปิดตัวโครงการสัมพันธภาพในด้านการลดอาวุธและความปลอดภัยระหว่างประเทศสำหรับนักการทูตชาวต่างชาติ “นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอินเดียต่อปัญหาด้านนิวเคลียร์และการลดอาวุธ” กล่าวโดยเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศ (MEA)
โครงการนี้มีความมุ่งเน้นต่อนักการทูตอายุน้อยจากประเทศต่าง ๆ อันหลากหลาย และมีความสอดคล้องอย่างใกล้ชิดกับโครงการของ UN สำหรับสัมพันธภาพในด้านการลดอาวุธซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1978 โดยการประชุมสมัชชาใหญ่สมัยพิเศษซึ่งมุ่งเน้นในด้านการลดอาวุธ
หลังจากนั้นมา ก็มีหนุ่มสาวรุ่นใหม่กว่า 1,000 คนจากรัฐสมาชิกจำนวนมากได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสัมพันธภาพในการลดอาวุธขององค์การสหประชาชาติ อินเดียเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมที่กระตือรือร้นในโครงการดังกล่าว เส้นทางสำหรับอาชีพการงานในภายหลังของสมาชิกสัมพันธภาพเหล่านี้เป็นข้อพิสูจน์อันชัดแจ้งซึ่งน่าประทับใจ ทั้งในด้านคุณค่าของการฝึกอบรมและในด้านความสามารถอันสูงส่งของแต่ละคนที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วม
ภายในขอบข่ายของโครงการสัมพันธภาพนั้น สถาบันบริการกิจการต่างชาติของกระทรวงการต่างประเทศได้ต้อนรับนักการทูตรุ่นใหม่ 27 คน – ทุกคนอายุต่ำกว่า 35 ปี – เป็นเวลาสามสัปดาห์จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประเทศที่ได้ส่งผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วยประเทศเวียดนาม จีน บังกลาเทศ ศรีลังกา เมียนมา มองโกเลีย อียิปต์ และเอธิโอเปีย
คุณ Izumi Nakamitsu ปลัดองค์การสหประชาชาติและผู้แทนระดับสูงสำหรับกิจการการลดอาวุธ และคุณ Vijay Keshav Gokhale ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการสำหรับกิจกรรมประจำปีครั้งแรกในวันที่ 14 มกราคม
ตามคำกล่าวของ Nakamitsu คุณค่าของการทำให้ผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่และนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการลดอาวุธนั้นไม่ใช่แค่เรื่องของการลงทุนในศักยภาพสำหรับอนาคต ระเบียบวาระการประชุมสำหรับการลดอาวุธของเลขาธิการใหญ่ UN ซึ่งเผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2018 นั้นเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคคลรุ่นใหม่เพื่อเป็นกำลังสูงสุดสำหรับการเปลี่ยนแปลง
ผู้คนรุ่นใหม่ได้ทำงานเป็นแนวหน้าสำหรับแคมเปญนานาชาติที่ประสบความสำเร็จในการสั่งห้ามการใช้ระเบิด การห้อมล้อม อาวุธยุทโธปกรณ์ และอาวุธนิวเคลียร์ในเร็ว ๆ นี้ “ช่วงอายุที่ใช้เป็นตัวแบ่งสำหรับโครงการของคุณนั้นช่างเลือกได้อย่างเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง – สมาชิกเจ้าหน้าที่ทุกคนของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (ICAN) ต่างมีอายุต่ำกว่า 35 ปีเมื่อคณะกรรมการดังกล่าวได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2017” กล่าวโดย Nakamitsu
“การสนทนาแลกเปลี่ยนที่นำโดยเยาวชนจะสามารถจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ในขณะที่เราพยายามจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ เช่น เครื่องมือไซเบอร์ โดรน และปัญญาประดิษฐ์” เธอกล่าวเพิ่ม
“ความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวจะมีความสำคัญมากในขณะที่เราพยายามปรับตัวเกี่ยวกับวิธีการลดอาวุธเพื่อให้ความพยายามของเรานั้นสอดคล้องกับปัจจัยสำคัญด้านอื่น ๆ เช่น วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งปี 2030 การดำเนินการด้านมนุษยธรรม การป้องกันและการแก้ปัญหาความรุนแรงจากการใช้อาวุธ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม” ผู้แทนระดับสูงสำหรับกิจการการลดอาวุธของ UN กล่าวเสริม
นอกจากนี้ การร่วมมือกันทางการเมืองที่นำโดยเยาวชนจะช่วยส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นของสตรีซึ่งยังเป็นที่ขาดแคลนเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการการลดอาวุธระหว่างรัฐบาล เราต้องยืนยันว่าผู้หญิงจะสามารถเข้าร่วมได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมในการลดอาวุธและกระบวนการสำหรับความปลอดภัยนานาชาติ เพื่อที่จะสามารถนำความคิดเห็นและความสามารถพิเศษมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในการจัดการกับความท้าทายที่จัดการยากซึ่งโลกของเรากำลังประสบอยู่ในตอนนี้
อินเดียพิจารณาว่ารัฐสมาชิกทั้ง 65 แห่งของการประชุมเกี่ยวกับการลดอาวุธ UN ซึ่งจัดในเจนีวานั้นเป็นตัวกลางสำหรับผู้เข้าร่วมในโครงการสัมพันธภาพครั้งใหม่ ในท้ายที่สุดแล้ว ได้มีการเลือก 30 ประเทศเพื่อเป็นตัวแทนทางภูมิศาสตร์ และได้รับการขอให้เสนอชื่อนักการทูตของตน เกณฑ์หลักก็คือพวกเขาควรจะมีพื้นเพก่อนหน้าในด้านปัญหาการลดอาวุธ
โครงการดังกล่าวครอบคลุมปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลดอาวุธและความปลอดภัยระหว่างประเทศ เช่น สภาพความปลอดภัยระดับโลก อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง อาวุธตามแบบบางประเภท ความปลอดภัยในอวกาศ ความร่วมมือทางทะเล ความปลอดภัยของไซเบอร์สเปซ การควบคุมการส่งออก เทคโนโลยีเกิดใหม่ ฯลฯ
โครงการสัมพันธภาพนี้มีเป้าหมายในการช่วยให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้และทัศนคติสำหรับปัญหาร่วมสมัยต่าง ๆ ในด้านการลดอาวุธ การไม่แพร่ขยายอาวุธ การควบคุมอาวุธ และความปลอดภัยระหว่างประเทศ
วิทยากรสำหรับโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโสจากสถาบันวิจัยเพื่อการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ (UNIDIR), ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA), องค์การห้ามอาวุธเคมี (OPCW) และข้อตกลงวัสเซนนาร์ (WA) ในด้านการควบคุมการส่งออกสำหรับอาวุธตามแบบและสินค้าและเทคโนโลยีที่ใช้ได้สองทาง
WA ซึ่งตั้งอยู่ในนครเวียนนานั้นก่อตั้งขึ้นในปี 1995 เพื่อมีส่วนช่วยเหลือในด้านความปลอดภัยและเสถียรภาพทั้งในพื้นที่และระหว่างประเทศ โดยทำการส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่มากขึ้นในด้านการถ่ายโอนอาวุธตามแบบและสินค้าและเทคโนโลยีที่ใช้ได้สองทาง ดังนั้นจึงป้องกันการกักตุนวัตถุดังกล่าวซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่มั่นคงได้ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการป้องกันการซื้อวัตถุเหล่านี้โดยผู้ก่อการร้าย
ตามคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ MEA โครงการยังประกอบไปด้วยการทัศนศึกษานอกสถานที่ไปยังโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ Narora ใน Uttar Pradesh สถานีบรรจุและแยกสินค้าในประเทศที่ Tughlakabad และองค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO)
เจ้าหน้าที่ของ EAM กล่าวเพื่ออธิบายถึงพื้นหลังของการริเริ่มอันไม่เหมือนใครนี้ว่าอินเดียได้จัดการประชุมเกี่ยวกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) มติที่ 1540 ซึ่งทำให้รัฐสมาชิกมีหน้าที่ในการทำการควบคุมภายในประเทศเพื่อป้องกันการไม่แพร่ขยายอาวุธของนิวเคลียร์และวัตถุนำส่งอื่น ๆ
“เราได้จัดการฝึกอบรมอันหลากหลายเกี่ยวกับแง่มุมต่าง ๆ ของการควบคุมการส่งออกและปัญหานิวเคลียร์ เช่น มติที่ 1540 และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี แต่นี่เป็นครั้งแรกที่อินเดียจัดโครงการแม่บทซึ่งรวมประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าด้วยกัน” เจ้าหน้าที่กล่าว
คุณ Nakamitsu ซึ่งเป็นผู้แทนระดับสูงของ UN สำหรับกิจการการลดอาวุธที่เป็นผู้เริ่มโครงการอย่างเป็นทางการกล่าวว่าข้อเสนอของอินเดียในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในด้านการลดอาวุธนิวเคลียร์และความปลอดภัยระหว่างประเทศนั้นสอดคล้องกับหนึ่งในแง่มุมหลักของกำหนดการในการลดอาวุธ: การลงทุนในการศึกษาเพื่อการลดอาวุธ ซึ่งได้รับการตีความว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 4 ซึ่งเรียกร้องให้มี “การส่งเสริมวัฒนธรรมด้านสันติภาพและการไร้ความรุนแรง”
เสาหลักต้นที่สี่ของกำหนดการดังกล่าวคือความร่วมมือ การที่จะบรรลุความคืบหน้าครั้งสำคัญได้นั้นยังต้องการการร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างระบบต่าง ๆ ในองค์การสหประชาชาติ การร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาค และกับนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ภาคส่วนเอกชน และประชาสังคม
“เนื่องด้วยความเชื่อมโยงในข้อสุดท้ายนี้ ฉันจึงแนะนำให้อินเดียเปิดตัวโครงการสัมพันธภาพนี้ ฉันเชื่อว่าการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับบทบาทในประวัติศาสตร์ของอินเดียในฐานะที่เป็นผู้ชนะอันโดดเด่นสำหรับการลดอาวุธนิวเคลียร์ระดับโลก” กล่าวโดยผู้แทนระดับสูงของ UN สำหรับกิจการการลดอาวุธ
เธอยังกล่าวเพิ่มว่า ในระยะเวลาที่ความสัมพันธ์ด้านความปลอดภัยเชิงกลยุทธ์กำลังลดลงและการมีขั้วอำนาจหลายขั้วกำลังเติบโตขึ้นนั้น รัฐทั้งหมดที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งรวมถึงอินเดีย จะมีความรับผิดชอบเป็นพิเศษในการสนทนาแลกเปลี่ยนให้ทันสถานการณ์เสมอ ค้นหาขั้นตอนที่มีประโยชน์ร่วมกันในการลดความเสี่ยง และเป็นผู้นำความพยายามในการทำให้พวกเรากลับมามีวิสัยทัศน์และเส้นทางร่วมในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ [IDN-InDepthNews – 23 มกราคม 2019]
ภาพ: ยานปล่อยจรวดวงโคจรพ้องคาบโลกของ ISRO (GSLV-F11) ได้ส่งดาวเทียมสื่อสาร GSAT-7A ออกไปเรียบร้อยแล้วในวันที่ 19 ธันวาคม 2018 เครดิต: ISRO