เยาวชนรณรงค์เกี่ยวกับโลกที่ปราศจากนิวเคลียร์ในการประชุมนะงะซะกิ
โดย Katsuhiro Asagiri
นะงะซะกิ (IDN) – ที่ประชุมสำหรับผู้สื่อสารเยาวชนที่ได้รับการริเริ่มโดยในปี 2013 ฟุมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นได้กระตุ้นให้ผู้คนรอบโลกตระหนักว่าอาวุธนิวเคลียร์ไม่ได้เพียงซึมซับเงินจำนวนมากแต่ยังเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อความสงบและความปลอดภัยนานาชาติ สภาพแวดล้อมทั่วโลก และการอยู่รอดของมนุษยชาติ
ผู้สื่อสารเยาวชนได้พบกันในเมืองนะงะซะกิของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเคยประสบกับระเบิดอะตอมพร้อมกับเมืองฮิโระชิมะเมื่อเจ็ดสิบเอ็ดปีที่แล้ว พวกเขาได้ปฏิญาณถึงการสื่อสารด้านความจำเป็นที่เร่งด่วนในการขับเคลื่อนโลกให้เป็นโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ และเสนอชุดขั้นตอนในการทำให้บรรลุเป้าหมาย
“พวกเราเชื่อว่ามนุษยชาติไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบกับอาวุธนิวเคลียร์เพราะว่ามันเป็นภัยคุกคามต่อผู้คน เมืองและสภาพแวดล้อม ‘Hibakusha’ ซึ่งหมายถึงผู้ที่รอดชีวิตจากระเบิดอะตอมที่ทิ้งลงในฮิโระชิมะและนะงะซะกิแต่ได้รับบาดเจ็บทางร่างกายจากผลกระทบของการแผ่รังสีและทางจิตใจจากการแบ่งแยก ควรเป็นสิ่งเตือนใจสำหรับทั้งโลกถึงอันตรายของการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์” ผู้สื่อสารเยาวชนกล่าวในแถลงการณ์
แถลงการณ์กล่าวเสริมว่า: “ญี่ปุ่นในฐานะประเทศเดียวที่เคยถูกโจมตีโดยระเบิดนิวเคลียร์ควรปฏิเสธ ‘ร่มนิวเคลียร์’ ส่งข้อความที่แข็งกล้าไปยังชุมชนนานาชาติเกี่ยวกับผลกระทบที่น่ากลัวและความโหดเหี้ยมของอาวุธนิวเคลียร์ และมีส่วนร่วมในเชิงรุกต่อการเจรจาสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายในการห้ามอาวุธนิวเคลียร์”
การประชุมเกิดขึ้นระหว่างการประชุมนานาชาติที่ประกอบด้วยสองกิจกรรม: ที่ประชุมสำหรับผู้สื่อสารเยาวชนเพื่อโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมและการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 26 ด้านการปลดอาวุธตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 ธันวาคม
“เราตระหนักว่าปัญหาอาวุธนิวเคลียร์นั้นอยู่ในทางแยก ปีนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรงต่างประเทศ G7 ได้พบกันที่ฮิโระชิมะและประธานาธิบดีโอบามาแห่งสหรัฐอเมริกาได้เยี่ยมชมสวนอนุสรณ์แห่งความสงบฮิโระชิมะ ที่ซึ่งเขาได้กล่าวสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์ ปีหน้าการเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายในการห้ามอาวุธนิวเคลียร์จะเริ่มต้นขึ้น โดยเกิดขึ้นภายหลังการยอมรับมติของสมัชชาสหประชาชาติ” แถลงการณ์เสริม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น คิชิดะ เริ่มที่ประชุมด้วยเป้าหมายในการสื่อสารความจริงเกี่ยวกับระเบิดอะตอมไปยังคนในรุ่นอนาคตในช่วงเวลาที่ผู้รอดชีวิตจากระเบิด (Hibakushas) แก่ตัวลง ตั้งแต่การเริ่มต้นของมัน เยาวชน 174 คนได้ทำหน้าที่ผู้สื่อสารเยาวชน ในเดือนมีนาคม 2016 ญี่ปุ่นจัดที่ประชุมเยาวชนครั้งที่ 1 ในฮิโระชิมะที่ผู้สื่อสารเยาวชนได้แบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดของพวกเขา
การประชุมสหประชาชาติด้านปัญหาการปลดอาวุธ (UNCDI) ได้รับการจัดขึ้นเกือบทุกปีตั้งแต่ปี 1989 ในหลายเมืองของญี่ปุ่น พร้อมเจ้าหน้าที่รัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกปรึกษาหาหนทางไปยังโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ UNCDI ได้รับการบริหารร่วมกันโดยศูนย์ภูมิภาพสหประชาชาติสำหรับความสงบและการปลดอาวุธในเอเชียและแปซิฟิก (UNRCPD) และรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น
ณ UNCDI ครั้งที่ 25 ที่จัดขึ้นในฮิโระชิมะในเดือนสิงหาคม 2015 ผู้เข้าร่วมได้มุ่งเน้นในการตรวจตราการประชุมเพื่อการทบทวน NPT ประจำปี 2015 ผลกระทบทางด้านมนุษยธรรมของอาวุธนิวเคลียร์ เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และบทบาทของสังคมพลเรือน การประชุมมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูโมเมนตัมของโลกในการทำให้เกิดโลกที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์
“ได้มีการกล่าวถึงปัญหาของสนธิสัญญาการห้ามนิวเคลียร์ในทุก ๆ ช่วงพัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการจัดการปัญหานี้ในสังคมนานาชาติ การประชุมนี้มอบโอกาสที่ดีให้กับเราในการเตรียมพร้อมสำหรับคณะกรรมการเตรียมความพร้อม NPT ที่จะจัดขึ้นในปีหน้า” Kazutoshi Aikawa ผู้อำนวยการทั่วไปแห่งแผนกการปลดอาวุธ การไม่แพร่ขยายอาวุธและวิทยาศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น กล่าวโดยสรุปถึงการประชุมนะงะซะกิ
ในก่อนหน้า ในการกล่าวเปิด Kim Won-soo ผู้แทนระดับสูงสหประชาชาติฝ่ายกิจการการลดอาวุธกล่าว: “ปีนี้. . . ครบรอบเจ็ดสอบปีของมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งแรก ดังที่คุณทราบ นี่เป็นการเรียกร้องถึงการกำจัดอาวุธแห่งการทำลายล้างสูงทั้งหมด – อาวุธก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ เจ็ดสิบปีให้หลัง เรายังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้ ที่แย่กว่านั้นก็คือความพยายามของเราในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ได้สะดุดลง”
ที่ประชุมเยาวชนกระตุ้นให้ทุกรัฐ “ยืนยันอย่างเต็มที่” ต่อความมุ่งมั่นของพวกเขาในการไม่แพร่ขยายนิวเคลียร์และการปลดอาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่ได้รับการกระบุในสนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธ (NPT) และ “เสริมสร้างความแข็งแกร่งกรอบกฎหมายนานาชาติเพื่อเร่งการปลดอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงการปรับปรุงการบังคับใช้ NPT และเจรจาสนธิสัญญาที่มีที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเพื่อห้ามอาวุธนิวเคลียร์”
แถลงการณ์กล่าวว่า รัฐทั้งหมดที่มีอาวุธนิวเคลียร์ควร “พิจารณาความจำเป็นในการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้งในด้านความปลอดภัย การเมืองและเศรษฐกิจและหาวิธีอื่น ๆ ในการรักษาความปลอดภัยของชาติและศักดิ์ศรีระดับนานาชาติ” และดำเนิน “การกระทำที่เป็นรูปธรรมในการลดจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ของพวกเขาซึ่งเป็นการตอบสนองต่อความรับผิดชอบของพวกเขาภายใต้ NPT”
แถลงการณ์ยังคงกระตุ้นให้รัฐที่มีนิวเคลียร์และไม่ใช่สมาชิกของ NPT ให้เข้าร่วมสนธิสัญญา และอย่างน้อยหนึ่งรัฐที่มีนิวเคลียร์ให้เป็นตัวอย่างโดยการยกเลิกโครงการนิวเคลียร์ของตนและโดยการเข้าร่วมความพยายามต่อโลกที่ปราศจากนิวเคลียร์
“หยุดการยกระดับขีปนาวุธนิวเคลียร์ เพราะว่ามันจะทำให้สภาพแวดล้อมด้านการรักษาความปลอดภัยของโลกไม่เสถียร” แถลงการณ์กล่าวเสริม: “นำขีปนาวุธทั้งหมดออกจากสถานะของการพร้อมยิง เพราะว่ามันทำให้มีความเสี่ยงและอันตรายที่ไม่จำเป็นต่อการคงอยู่ของโลกใบนี้ และจะช่วยป้องกันการปล่อยอาวุธโดยอุบัติเหตุ”
รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ควร “ทำให้ขีปนาวุธนิวเคลียร์แน่นหนามากยิ่งขึ้นเพื่อลดอุบัติเหตุนิวเคลียร์โดยการส่งบุคลกรที่มีประสบการณ์ในการตรวจสอบพวกมันและทำให้วัสดุที่ใช้งานเป็นอาวุธได้อยู่ห่างจากการเข้าถึงของผู้ที่อยากจะครอบครองมัน เช่น ผู้ก่อการร้าย” แถลงการณ์กล่าวเสริม
รัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงรัฐที่อยู่ภายใต้ “ร่มนิวเคลียร์” ควรดำเนินความมุ่งมั่นต่อไปในการเป็นรัฐที่ปราศจากนิวเคลียร์ และเป็นผู้นำในการบรรลุโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐที่อยู่ภายใต้ “ร่มนิวเคลียร์” ควรปฏิเสธนโยบายของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเสี่ยง ความมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ และสร้างความพยายามในการสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ไม่พึ่งพาอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงการก่อตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์
ที่ประชุมเรียกร้องให้มีความพยายามที่เป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างรัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์เพื่อบรรลุโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างแรงกดดันให้รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์เพื่อเร่งความพยายามในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ของพวกเขาและสนับสนุนการห้ามอาวุธนิวเคลียร์และขยายความพยายามที่ทำให้ชุมชนนานาชาติมีส่วนร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งรวมถึงรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์
โดยแสดงความคิดเห็นถึงการปรึกษาหารือของที่ประชุมผู้สื่อสาร Hiroyasu Tagawa (83) ผู้ซึ่งสูญเสียพ่อแม่ของเขาจากระเบิดอะตอมในนะงะซะกิกล่าวว่า: “ช่วงเวลาที่ฉันสามารถสื่อถึงประสบการณ์ของฉันในการเป็น Hibakusha (ผู้รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์) นั้นจำกัดมากยิ่งขึ้น ฉันรู้สึกประทับใจที่ได้พบกับความคิดของเยาวชนของทุกวันนี้ ฉันมีความคาดหวังอย่างมากในกิจกรรมของพวกเขา”
อายุเฉลี่ยของเหยื่อระเบิดอะตอมที่รอดชีวิตอยู่ที่มากกว่า 80 ปีในตอนนี้ เมื่อมองในมุมมองนี้ นายกเทศมนตรีนะงะซะกิ Tomihisa Taue กล่าวว่ามันเป็นสิ่งสำคัญในการค้นหาหนทางใหม่ ๆ ในการส่งเสริมข้อความที่ต่อต้านนิวเคลียร์โดยไม่พึ่งพาผู้รอดชีวิตของระเบิด
Hibakusha (ผู้รอดชีวิตจากระเบิด) ได้เริ่มการอ้อนวอนให้มีสนธิสัญญาการห้ามอาวุธนิวเคลียร์: “ดังนั้นผู้คนในรุ่นอนาคตจะไม่ต้องได้รับประสบการณ์เยี่ยงนรกบนดิน เราต้องการให้มีโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่” พวกเขาได้ริเริ่มการรณรงค์ขอลายมือชื่อเรียกร้องให้มีสนธิสัญญานานาชาติในการห้ามและกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ โดยหวังว่าจะไม่มีใครต้องทนทุกข์ดังที่พวกเขาเคยประสบอีกต่อไป
พวกเขาวางแผนที่จะระดมลายมือชื่อจนกระทั่งมีข้อสรุปของสนธิสัญญาการห้ามนิวเคลียร์ ลายมือชื่อชุดแรกจำนวน 564,240 รายการที่ได้รับการจัดเก็บในเดือนสิงหาคมและกันยายน 2016 ได้รับการส่งให้ประธานแห่งคณะกรรมการการลดอาวุธแห่งสมัชชาสหประชาชาติ (เยี่ยมชม: https://www.change.org/p/join-the-hibakusha-appeal-for-a-nuclear-ban-treaty) [IDN-InDepthNews – 24 ธันวาคม 2016]
รูป: UNRCPD