การเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์ระหว่างนาโต้-รัสเซียควรจะเป็นหน้าที่ “สำคัญสูงสุด”
จากมุมมองของราเมช จัวรา
เบอร์ลิน (สำนักข่าว IDN) – “เราขอยืนยันว่าจะไม่ยอมให้สงครามนิวเคลียร์ได้รับชัยชนะ และจะต้องไม่เกิดการต่อสู้ขึ้นอย่างเด็ดขาด” ห้าชาติผู้นำอาวุธนิวเคลียร์ได้ให้คำมั่นซึ่งประกอบด้วยจีน ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกาในการร่วมแถลงการณ์เมื่อวันที่ 3 มกราคม โดยได้กล่าวเสริมอีกว่าพวกเขา “ถือว่าการหลีกเลี่ยงสงคราม” ระหว่างพวกเขา และ “การลดความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์” เป็น “หน้าที่ความรับผิดชอบสูงสุดของพวกเขา” ห้าชาติมหาอำนาจนิวเคลียร์ยังเป็นห้าประเทศสมาชิกถาวร (P5) ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ๆ คือการรักษาความสงบสุขและความปลอดภัยของนานาประเทศ
ในระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนภายหลังจากที่ประเทศสมาชิก P5 ได้ให้คำมั่นต่อพวกเขาเองในการ “ทำงานร่วมกันกับทุกชาติเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และนำไปสู่ความก้าวหน้าในการปลดอาวุธมากขึ้นซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดของการเป็นโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์โดยหลักการความปลอดภัยที่ไม่ลดน้อยลงของทุก ๆ ประเทศ” แต่ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูตินได้ตัดสินใจที่จะยกระดับการเตือนภัยสำหรับกำลังนิวเคลียร์ของประเทศขึ้น
มีการเน้นย้ำให้เห็นถึงนัยสำคัญของการตัดสินใจในครั้งนี้โดยข้อเท็จจริงตามหนังสือประจำปี 2021 ของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI)ที่ว่ารัสเซียครอบครองกำลังนิวเคลียร์เป็นจำนวนมากที่สุด คือ 6,375 หัวรบ ตามที่ได้เทียบกับสหรัฐอเมริกา 5,550 หัวรบ
ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่ อันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติได้ตราหน้าการตัดสินใจของรัสเซียในครั้งนี้ว่าเป็น “การก่อให้เกิดภาวะเขย่าขวัญ” ในการให้ความเห็นต่อสื่อเกี่ยวกับสงครามในยูเครน เขาได้กล่าวว่า: “การเกิดความขัดแย้งทางนิวเคลียร์ครั้งหนึ่งเคยเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ตอนนี้กลับอยู่ในขอบเขตที่อาจจะเกิดขึ้นได้”
ในวันที่ 25 มีนาคม สิบวันหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกาได้บอกกับเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลว่า ประธานาธิบดีโจเซฟ อาร์ ไบเดนได้อนุมัตินโยบายเก่าในสมัยโอบามาที่อนุญาตให้ตอบสนองต่อภัยที่อาจเกิดจากนิวเคลียร์เพื่อยับยั้งการใช้อาวุธและอันตรายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นิวเคลียร์นอกเหนือจากอาวุธนิวเคลียร์ ดาริล จี คิมบอล คณะกรรมการบริหาร สมาคมควบคุมอาวุธยังคงยืนยันอีกครั้งว่าในการดำเนินการนี้ไบเดนได้ล้มเลิกนโยบายที่เขาเคยให้ไว้ในช่วงหาเสียง
เจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกาได้ชี้ให้เห็นว่านโยบายของไบเดนจะแสดงให้เห็นถึง “บทบาทพื้นฐาน” ของคลังอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาที่จะยับยั้งการโจมตีทางนิวเคลียร์ เจ้าหน้าที่ได้กล่าวว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยเปิดโอกาสความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์ใน “สถานการณ์ร้ายแรงอย่างที่สุด” เพื่อยับยั้งการใช้อาวุธทั่วไป อาวุธชีวภาพ อาวุธเคมีและโอกาสการโจมตีทางไซเบอร์จากศัตรูได้ด้วย
“หากรายงานมีความถูกต้อง ประธานาธิบดีไบเดนจะไม่สามารถทำตามคำมั่นสัญญาในปี 2020 ของเขาได้อย่างชัดเจนในการปรับนโยบายเกี่ยวกับการใช้อาวุธนิวเคลียร์ให้มีความชัดเจนมากขึ้นและกำหนดขอบเขตให้แคบลง และเขาจะพลาดโอกาสสำคัญในการนำโลกก้าวออกห่างจากนิวเคลียร์” คิมบอลกล่าว
ไบเดน ได้เขียนไว้ใน Foreign Affairs: “ว่าตามที่ผมได้กล่าวไว้ในปี 2017 ว่าผมเชื่อว่าเป้าหมายเพียงอย่างเดียวของคลังอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐควรจะเป็นการยับยั้ง และการตอบโต้การโจมตีด้วยนิวเคลียร์หากมีความจำเป็น ในฐานะประธานาธิบดี ผมจะทำงานเพื่อทำให้ความเชื่อนี้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติให้ได้ โดยการปรึกษาหารือร่วมกับกองทัพสหรัฐและ ชาติพันธมิตรของสหรัฐ”
คิมบอลพบว่าสงครามหายนะต่อยูเครนของปูติน การสำแดงแสนยานุภาพนิวเคลียร์ของเขา และนโยบายของรัสเซียซึ่งรักษาทางเลือกที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อนซึ่งมีความขัดแย้งกับนาโต้ “ยิ่งเป็นการเน้นย้ำให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้นว่ามีอันตรายร้ายแรงอย่างที่สุดเพียงใดสำหรับชาติที่มีอาวุธนิวเคลียร์สำหรับภัยคุกคามของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการตอบสนองต่อภัยคุกคามที่ไม่ใช่นิวเคลียร์” ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเพราะเหตุใดเมื่อนึกถึงอาวุธนิวเคลียร์มันจึงเป็นแรงสนับสนุนให้มีความจำเป็นต่อ “การก้าวออกห่างจากอันตรายในยุคสงครามเย็นโดยเร็ว”
“เห็นได้ชัดว่าไบเดนล้มเหลวในการใช้โอกาสในการลดบทบาทของอาวุธนิวเคลียร์ให้แคบลงอย่างมีความหมายสำคัญ และประสบความล้มเหลวผ่าน NPR (ยุทธศาสตร์ด้านนิวเคลียร์) ของเขาต่อการทำให้นโยบายนิวเคลียร์ของสหรัฐแตกต่างจากหลักการอันตรายจากนิวเคลียร์ของรัสเซียซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อนโยบายการห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อนต่อภัยคุกคามที่ไม่ใช่นิวเคลียร์” คิมบอลกล่าวเสริม
เขากล่าวต่อไปอีกว่า: “ไม่มีเหตุการณ์ทางการทหารที่มีเหตุผลพอจะฟังขึ้น ไม่มีเหตุผลทางศีลธรรมที่สามารถแก้ต่างได้ หรือไม่มีการอ้างเหตุผลสนับสนุนทางกฎหมายสำหรับการคุกคาม หรือการใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อนได้เลย- หากว่ามี”
คิมบอลพูดย้ำอีกครั้งว่าประธานาธิบดีเรแกน ไบเดน กอร์บาชอฟ และแม้แต่ปูตินเองทุกคนต่างเคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ยอมให้สงครามนิวเคลียร์ได้รับชัยชนะ และจะต้องไม่เกิดการต่อสู้ขึ้นอย่างเด็ดขาด “เมื่อมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในความขัดแย้งระหว่างชาติที่ครอบครองนิวเคลียร์ขึ้นแล้ว จะไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่ส่งผลให้มีการตอบโต้ และยกระดับการตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์ทั้งสองฝ่ายแบบเบ็ดเสร็จ”
สมาคมควบคุมอาวุธ “เร่งให้ฝ่ายบริหารอธิบายการตีความคำตัดสินนโยบายด้านนิวเคลียร์ของไบเดนว่าแตกต่างจากหลักการอันตรายจากนิวเคลียร์ของรัสเซียอย่างไร และภายใต้สถานการณ์ใดที่สหรัฐอาจจะเชื่อว่ามีเหตุผลสมควรในการเริ่มการใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1945” เมื่อสหรัฐทิ้งระเบิดปรมาณูเหนือเมืองฮิโรชิมะและนางาซากิของญี่ปุ่น
แชนนอน บูกอส นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโสของสมาคมควบคุมอาวุธได้แสดงมุมมองว่า “NPR ขั้นสุดท้ายของไบเดนควรจะมีการเน้นย้ำถึงพันธสัญญาของสหรัฐที่มีมาอย่างยาวนานต่อการทำให้บรรลุผลมากยิ่งขึ้นสำหรับการลดคลังอาวุธนิวเคลียร์ที่สามารถตรวจสอบได้ของสหรัฐ และรัสเซียที่ยังคงมีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นอย่างแข็งขัน และเพื่อมองหาการมีส่วนร่วมของจีน และชาติครอบครองนิวเคลียร์อื่น ๆ ในโครงการปลดอาวุธ”
“แต่ในความเป็นจริงอันโหดร้าย” เธอกล่าว “นั่นคือมันอาจจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ด้านยุทธศาสตร์ของสหรัฐและรัสเซียเพียงไม่กี่ร้อยเท่านั้นในการทำลายความสามารถของกองทัพของแต่ละฝ่าย สังหารคนบริสุทธิ์หลายร้อยล้านคน และก่อให้เกิดภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของสภาพภูมิอากาศ”
การทำให้ความหมายเกี่ยวกับการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ยังมีความกำกวมอยู่ต่อไปเป็น “อันตราย ไร้เหตุผลและไม่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง” เธอเตือน
รีเบกกา จอห์นสัน ผู้อำนวยการ Acronym Institute for Disarmament Diplomacyตั้งคำถามในหน้าบทความความคิดเห็นพิเศษใน Open Democracy ว่า: “เรากลับมาเชื่อได้อย่างไรว่าสงครามนิวเคลียร์เกิดขึ้นได้? เหตุใดการยับยั้งนิวเคลียร์ถึงยับยั้งไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้? แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป?”
เธอกล่าวว่าสิ่งแรกที่จะต้องเข้าใจก็คือการยับยั้งเป็นส่วนกิจวัตรประจำของกลยุทธ์การป้องกันส่วนใหญ่ “การยับยั้งคือความสัมพันธ์ ไม่ใช่คุณสมบัติพิเศษที่ติดมากับระเบิดนิวเคลียร์ การสื่อสารคือกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ หรือล้มเหลวของกลยุทธ์การยับยั้งใด ๆ ไม่สำคัญว่าภัยคุกคามหรืออาวุธที่มีการยกขึ้นมากวัดแกว่งนั้นจะเป็นสิ่งใด การยับยั้งล้มเหลวเมื่อตัวผู้นำคนสำคัญตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปคำนวณพลาด หรือเข้าใจสถานการณ์ สัญญาณหรือเจตนาของอีกฝ่ายผิด แต่อย่างไรก็ตามการตอบกลับด้วยอาวุธนิวเคลียร์คือการเดิมพันกับความเสี่ยงที่จะทำลายโลกทั้งใบ”
แต่อย่างไรก็ตามยังไม่เห็นสัญญาณที่ชาติครอบครองพลังงานนิวเคลียร์จะแยกตัวออกจากการยับยั้งการใช้นิวเคลียร์ ทั้งอินเดีย ปากีสถาน อิสราเอลและเกาหลีเหนือตามลำดับยังมองไม่เห็นเหตุผลใด ๆ สำหรับการละทิ้งคลังอาวุธนิวเคลียร์ของตน 156, 165, 90 และ 40-50 ตามลำดับ
ห้าชาติมหาอำนาจนิวเคลียร์ได้ยืนยันรับรองพันธสัญญาที่มีต่อสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT)ของตนอีกครั้งเมื่อต้นเดือนมกราคม ประกอบด้วยพันธกรณีข้อที่หกของพวกเขาที่ว่า “การเจรจาด้วยความบริสุทธิ์ใจเกี่ยวกับมาตรการเกี่ยวกับการระงับการแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงแรก ๆ และการปลดอาวุธนิวเคลียร์ที่มีประสิทธิภาพให้สำเร็จลุล่วง และในสนธิสัญญาในส่วนทั่วไปและการปลดอาวุธอย่างสมบูรณ์แบบภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเข้มงวดและมีประสิทธิภาพ” แต่คำมั่นสัญญานี้ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ
ตามที่ศาสตราจารย์ Dr M.V. Ramana ผู้อำนวยการสถาบัน Simons Chair in Disarmament, Global and Human Security และ Liu Institute for Global Issues คณะ Public Policy and Global Affairs มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย แวนคูเวอร์ ได้บอกกับ IDN ว่าพันธกรณีในการปลดอาวุธไม่เพียงแค่นำไปใช้กับชาติครอบครองนิวเคลียร์ภายใต้ NPT เท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ อีกสี่ประเทศด้วย
ในปี 1996 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ระบุไว้อย่างเป็นเอกฉันท์ว่า “มีข้อผูกพันสำหรับการเจรจาให้บรรลุผลสำเร็จด้วยความบริสุทธิ์ใจ และหาข้อสรุปที่จะนำไปสู่การปลดอาวุธนิวเคลียร์ในทุกด้านภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเข้มงวดและมีประสิทธิภาพ” พันธกรณีนี้ใช้กับทุกประเทศ เขากล่าว
วิธีแก้ปัญหาสถานการณ์ติดหล่มในปัจจุบันที่เห็นได้ชัดคือการลงนามในสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW)และการกำจัดอาวุธในคลังอาวุธนิวเคลียร์ของตนจำนวนหลายพัน ภัยคุกคามจากการเคลื่อนกำลังอาวุธนิวเคลียร์โดยรัสเซีย หรือสหรัฐไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด